top of page
poster homepage small page.jpg
Logo section_new4.jpg

ข่าวกิจกรรมวิชาการ

คลิปวิดีโอภาพรวมกิจกรรม

ภาพรวมกิจกรรม Soul Connect Fest 2023

ภาพรวมกิจกรรม งานประชุมวิชาการฯ

ร่วมลงนามคำประกาศเจตนารมณ์เครือข่ายความรู้สุขภาวะทางปัญญา

ดาวน์โหลดหนังสือและเอกสาร

หนังสือสุขภาวะทางปัญญา.jpg

หนังสือ "สุขภาวะทางปัญญา: 15 เส้นทางสู่สุขภาวะที่สมบูรณ์ของมนุษยชาติ"

โดย ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ประเวศ วะสี

ที่ปรึกษาศูนย์ความรู้และประสานงานสุขภาวะทางปัญญา

หนังสือสูจิบัตร.jpg

หนังสือสูจิบัตร (Abstract - Program Book)

งานประชุมวิชาการระดับชาติเครือข่ายความรู้สุขภาวะทางปัญญา ครั้งที่ 1

"สุขภาวะทางปัญญา: สุขภาพ จิตวิญญาณ และสังคม"

proceedings.jpg

รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการ (Proceedings)

งานประชุมวิชาการระดับชาติเครือข่ายความรู้สุขภาวะทางปัญญา ครั้งที่ 1

"สุขภาวะทางปัญญา: สุขภาพ จิตวิญญาณ และสังคม"

สรุปผลการดำเนินงาน scf2023.jpg

รายงานสรุปผลการดำเนินงาน

Soul Connect Fest 2023

จุดเชื่อมโยงการเดินทางของงานส่งเสริมสุขภาวะทางปัญญา

รายงานประเมินผล.jpg

รายงานประเมินผลและถอดบทเรียน

งานประชุมวิชาการระดับชาติเครือข่ายความรู้สุขภาวะทางปัญญา ครั้งที่ 1

และงาน Soul Connect Fest 2023

สื่อที่เกี่ยวข้อง

แถลงข่าว.jpg

สื่อสร้างสุขภาวะ: แถลงข่าวเปิดตัว

“Soul Connect Fest” 

วิรุฬ.jpg

The People: ดร. นพ.วิรุฬ ลิ้มสวาท Caregiving ด้วยหัวใจ จิตวิญญาณแห่งมานุษยวิทยาการแพทย์

นศ2.jpg

มนุษย์กรุงเทพฯ: การรับมือความทุกข์ส่วนตัวและทุกข์ทางสังคมของนักศึกษาร่วมสมัย (2/2)

สมสิทธิ์.jpg

The People: เพราะมนุษย์มีจิตวิญญาณ…การเรียนรู้จิตวิญญาณจึงมีมาตั้งแต่มีมนุษย์

ไพร.jpg

มนุษย์กรุงเทพฯ: ไพร-เอกวัฒน์ พิมพ์สวรรค์

ดวงสมร.jpg

มนุษย์ต่างวัย: แม่ต้อย ผู้้เริ่มเรียนดอกเตอร์ในวัย 67 ปี และสร้างงานวิจัยที่กลายเป็นมาตรฐานในสถานพยาบาลทุกแห่ง

สกล.jpg

The People: ดร.นพ.สกล สิงหะ แพทย์ที่วางหัวใจและจิตวิญญาณไว้กับงาน Palliative Care

คนเมือง.jpg

มนุษย์กรุงเทพฯ: การตายของคนเมือง และความตายของคนไร้บ้าน

อรอร.jpg

The Momentum: นโยบายสาธารณะที่มี 'สุขภาวะทางปัญญา' และวิธีออกแบบสังคมด้วยอนาคตศาสตร์

อัณธิฌา.jpg

The People: อันธิฌา แสงชัย: แม่มดกับการเมืองเรื่องจิตวิญญาณ

นศ1.jpg

มนุษย์กรุงเทพฯ: การรับมือความทุกข์ส่วนตัวและทุกข์ทางสังคมของนักศึกษาร่วมสมัย (1/2)

ประธานที่ปรึกษา

    “การเข้าถึงความจริงต้องใช้ปัญญา เป็นที่มาของคำว่า “สุขภาวะทางปัญญา” นักวิชาการควรทำการวิจัยสนับสนุน โดยผู้วิจัยควรมีประสบการณ์ทาง spiritual จะเข้าใจว่าสุขภาวะทางจิตวิญญาณหรือสุขภาวะทางปัญญาคืออย่างไร จะได้วิจัยได้ถูกต้อง เมื่อวิจัยแสวงหาอย่างนี้จากในและต่างประเทศ จะได้มวลความรู้ขนาดมหึมารวบรวมไว้ในคลังความรู้สุขภาวะทางปัญญา เป็นแหล่งข้อมูลที่ทุกคนเข้าถึงได้

    การทำให้เรื่องดีๆขยายตัวกว้างขวาง วิธีหนึ่งคือหลัก RCN  R = Research วิจัยว่าใครกำลังทำเรื่องดีๆนี้บ้าง C = Communication สื่อสารเรื่องดีๆให้รู้กันทั่วถึง N = Networking สร้างและขยายเครือข่าย

    เมื่อขยายตัวออกไปเรื่อยๆ และเพิ่มคุณภาพต่อเนื่องเต็มพื้นที่ไทยและโลก จากยุคเก่าที่วิกฤตทุกด้าน เสียสมดุล เพราะมนุษย์ใช้สมองส่วนหลังหรือสมองสัตว์เลื้อยคลาน ก็จะเข้าสู่ยุคใหม่แห่งการใช้สมองส่วนหน้า เป็นสมองมนุษย์ที่อาริยะ เป็นที่อยู่ของปัญญาญาณและมิตรภาพ

    สุขภาวะทางปัญญาเป็นเครื่องมือพัฒนาการใช้สมองส่วนหน้า จึงมีความหมายใหญ่ต่อการเปลี่ยนแปลงของมนุษยชาติ”

ศ.เกียรติคุณ นพ.ประเวศ วะสี
ประธานที่ปรึกษาการจัดประชุม

ประธานกรรมการ

    “การประชุมวิชาการครั้งนี้มุ่งมั่นเป็นจุดเริ่มต้นรวมพลังขับเคลื่อนงานพัฒนาสุขภาวะทางปัญญา (Spirituality Development) ในประเทศไทย โดยเชื่อว่าน่าจะมีกลไกประสานภาพใหญ่ เป็นกลไกจัดการความรู้ เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจและการเรียนรู้ร่วมกัน เกี่ยวกับการสร้างและพัฒนาสุขภาวะทางปัญญา และนำไปใช้ในบริบทต่างๆที่หลากหลาย

    การรวมพลังขับเคลื่อนเกิดจากการทำความเข้าใจ  แนวคิด  หลักการ ทฤษฎี เครื่องมือต่างๆ ไปถึงประสบการณ์จากความเคลื่อนไหวของภาคีต่างๆร่วมกัน เกิดการหมุนวงจรแห่งการเรียนรู้ที่ผสมผสานทั้งความรู้จากการอ่าน การฟัง กับความรู้จากการปฏิบัติ ถ้าทุกคนนำความเข้าใจมาแชร์กันจะทำงานได้ดียิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการทำงานวิชาการหรือการทำงานในภาคปฏิบัติ และที่สุด อาจนำไปสู่นโยบายที่สนับสนุนการพัฒนาสุขภาวะทางปัญญาของปัจเจก รวมถึงการพัฒนาเชิงระบบ ซึ่งต้องทำกันต่อไปยาวๆไม่สิ้นสุด​

    เราอยากเห็นการประชุมวิชาการที่เชื่อมความรู้และการปฏิบัติ ไม่ใช่การประชุมที่แยกเป็นวิชาการโดดๆ เพราะสุขภาวะทางปัญญาต้องผ่านการปฏิบัติ จึงเกิดการจัดประชุมวิชาการที่มีการเชื่อมโยงเครือข่ายทั้งนักวิชาการและผู้ปฏิบัติงาน เป็นการรวมพลังอย่างมีส่วนร่วมทั้งในระดับปัจเจกและระดับสถาบันหรือองค์กร ถือเป็นความพยายามที่จะหารูปแบบการประชุมวิชาการ ที่นำวิชาการกับปฏิบัติมาเชื่อมกัน เป็นพื้นที่สร้างการเรียนรู้ร่วมกัน และส่งผลกระทบต่อระบบด้วย”

สมศักดิ์.png

นพ. สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์
ประธานมูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ

ประธานกรรมการการจัดประชุม

องค์กรสนับสนุนหลัก

ญาณี.png

    “แผนระบบสื่อและวิถีสุขภาวะทางปัญญาของ สสส. ขับเคลื่อนงานส่งเสริมสุขภาวะทางปัญญามาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2558 เรามีภาคีเครือข่าย แต่ยังขาดการเชื่อมโยงกันเพื่อให้เกิดการทำงานเชิงยุทธศาสตร์ที่แหลมคม ทั้งๆที่สุขภาวะทางปัญญาเป็นหนึ่งในสี่เสาหลักของสุขภาวะตามพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ

    งานนี้เป็นการจัดประชุมวิชาการระดับชาติครั้งแรกในเรื่องสุขภาวะทางปัญญาโดยตรง เป็นโอกาสสำคัญของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เชิงลึกและเชื่อมโยงกันและกัน น่ายินดีที่เราจะได้ร่วมกันสร้างสังคมที่มีสุขภาวะทางปัญญา โดยมีความเกื้อกูล ความเข้าใจกัน และความสงบร่มเย็นของสังคมเป็นเป้าหมาย

    การประชุมครั้งนี้ขยายขอบเขตคนทำงานสู่กลุ่มนักวิชาการที่หลากหลายและเป็นสหวิทยาการมากขึ้น ทั้งทางด้านสุขภาพและสังคม โดยหวังว่าจะเกิดฐานความรู้เพื่อผลักดันให้งานส่งเสริมสุขภาวะทางปัญญาเคลื่อนไปสู่การเป็นนโยบายระดับชาติได้

    เราตั้งใจจะจัดงานประชุมทุก 1-2 ปี โดยมีเป้าหมายร่วมกันว่าจะขยับให้เป็นการประชุมวิชาการระดับนานาชาติ เพื่อขยายงานสู่ระดับสากล และขยายเครือข่ายสุขภาวะทางปัญญาให้กว้างขวางขึ้น”

นางญาณี รัชต์บริรักษ์

ผู้อำนวยการสำนักสร้างเสริมระบบสื่อและสุขภาวะทางปัญญา สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

องค์กรผู้จัดงาน

    “เราจะทำอย่างไรให้ปัญญาปฏิบัติด้านสุขภาวะทางปัญญาเป็นองค์ความรู้ที่ยกระดับและขับเคลื่อนสู่การเป็นนโยบายได้ การประชุมครั้งนี้จึงเชื่อมโยงนักวิชาการและผู้ปฏิบัติการหลากหลายสาขา เพื่อร่วมสร้างความรู้และศักยภาพใหม่จากปัญญาปฏิบัติแบบข้ามศาสตร์ที่มีมิติจิตวิญญาณ (Spiritual Dimension)

    ประเด็นย่อยในงาน เกิดจากประเด็นงานที่เป็นปัจจุบันของขบวนการทำงานสุขภาวะทางปัญญา ทั้งงานที่ตั้งตัวชัดเจนระดับหนึ่งแล้วในระบบการศึกษา ระบบสุขภาพ การทำงานทางสังคม และการสร้างสรรค์เครื่องมือเพื่อสร้างประสบการณ์ตรงในการเรียนรู้ รวมทั้งงานเกิดขึ้นใหม่ เป็นจิตวิญญาณแห่งยุคสมัยที่ตอบสนองการเปลี่ยนแปลงของยุคสมัยอย่างสดใหม่ มีชีวิตชีวา

    เป้าหมายของงานก็เกิดจากการก่อประกอบร่วมกันของคณะผู้ร่วมจัดงานจำนวนมากที่มาร่วมกันจัดงานนี้ ทั้งความตั้งใจในการใช้ความรู้เป็นพลัง เพื่อเคลื่อนประเทศไทยไปข้างหน้าด้วยการพัฒนาสุขภาวะทางจิตวิญญาณและสุขภาวะองค์รวม การเชื่อมโยงกับภาคนโยบาย การเคลื่อนสังคม และการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน การมาทำงานร่วมกันครั้งนี้จึงเป็นเหมือนการเดินทางทางจิตวิญญาณร่วมกันด้วย” 

จารุปภา.png

นางจารุปภา วะสี
ผู้อำนวยการศูนย์ความรู้และประสานงานสุขภาวะทางปัญญา

องค์กรร่วมจัดหลัก

ศยามล ชลนภา.png

    “ภารกิจหนึ่งของนักวิชาการคือการสร้างองค์ความรู้ ในงาน ‘สังคมวิทยาสาธารณะ Public Sociology’ เราเชื่อว่าคนทำงานความรู้ต้องเชื่อมโยงกับสังคม ความรู้ต้องเป็นประโยชน์กับสาธารณะ

    ‘Sociology on Spirituality’ ถือเป็นพื้นที่ใหม่ของนักวิชาการทุกคน เหมือนแพลตฟอร์มที่เชื้อเชิญให้ทุกคนลองมาเชื่อมโยงกับเรื่องนี้ เป็นความท้าทายหนึ่งในแวดวงวิชาการ ซึ่งด้านความรู้ยังมีช่องว่างพอให้ขยับ แต่การจะนำเรื่องจิตวิญญาณไปอยู่บนแพลตฟอร์มเชิงนโยบายคงเป็นเรื่องท้าทายยิ่งกว่า

    งานประชุมวิชาการครั้งนี้เป็นการเชื่อมโยงกันระหว่างคนทำงานความรู้ ทั้งนักปฏิบัติการที่มีความรู้อยู่ในตัว กับคนทำงานความรู้แบบที่มีการยอมรับอย่างเป็นทางการ เช่น ได้รับการตีพิมพ์เอกสาร หรือพูดโดยสถาบันทางวิชาการ นำทั้งสองกลุ่มมาเชื่อมและเกิดพลังร่วม เป็นการทำงานข้ามกลุ่ม ที่ยากกว่าข้ามศาสตร์ จึงต้องเชื่อมด้วยใจ เอาใจมาเชื่อมกัน เอาคนมาเจอกัน ได้เห็นหน้าเห็นตา เชื่อมใจกันก่อนจะไปเชื่อมมือ ถือว่าเป็นการปฏิบัติการทางความรู้ในอีกรูปแบบหนึ่ง”

นักวิจัยชำนาญการ ดร. ศยามล เจริญรัตน์ และนางสาวชลนภา อนุกูล

นายกและเลขานุการสมาคมสังคมวิทยาสาธารณะ (ประเทศไทย)

ติดต่อ

กรณีมีคำถามหรือข้อสงสัยใดๆ

กรุณาติดต่ออีเมล jitwiwat2023@gmail.com

จิตวิวัฒน์ - New Consciousness

  • Facebook
Logo section_new4.jpg
bottom of page