การจัดทำร่างสาระหมวดสุขภาพทางปัญญา ในธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2566-2570)
เดือนตุลาคม 2564 - พฤษภาคม 2565
ศูนย์ความรู้และประสานงานสุขภาวะทางปัญญา
สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล, กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข, กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์, ศูนย์คุณธรรม, สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, ศูนย์จิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล, มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาชุมชนกรุณา, มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ, มูลนิธิบูรณะชนบทแห่งประเทศไทย, มูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม, สหทัยมูลนิธิ, มูลนิธิสืบนาคะเสถียร, มูลนิธิสหธรรมิกชน, เครือข่ายสลัมสี่ภาค, เครือข่ายพุทธิกา, ธนาคารจิตอาสา, กลุ่ม Free Spirit Thailand, กลุ่มพระจันทร์เสี้ยวการละคร, ไร่ดินดีใจ อ.หนองฉาง จ.อุทัยธานี, ทุ่งน้ำนูนีนอย อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่, บริษัท ชีวามิตร วิสาหกิจเพื่อสังคม, บริษัท บุญมีฤทธิ์ มีเดีย จํากัด, บริษัท ชูใจ กะ กัลยาณมิตร จำกัด, CoJOY consulting และโครงการการสื่อสาร “สบายดี 45+”
สํานักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.)
และสำนักสร้างเสริมระบบสื่อและสุขภาวะทางปัญญา สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
เวลา
จัดทำโดย
ร่วมกับ
สนับสนุนโดย
ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ จัดทำโดยคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (คสช.) ตามอำนาจหน้าที่ที่กำหนดในพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 เพื่อเสนอให้คณะรัฐมนตรีเห็นชอบ และใช้เป็นกรอบและแนวทางในการกำหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์และการดำเนินงานด้านสุขภาพของประเทศ โดยธรรมนูญฯ ต้องสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย อย่างน้อยต้องมี 12 สาระสำคัญ และมีการทบทวนธรรมนูญฯ อย่างน้อยทุกห้าปี เพื่อสอดคล้องเท่าทันต่อสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างเป็นพลวัต
สาระหมวดสุขภาพทางปัญญา เป็นหนึ่งใน 12 สาระหมวดของธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2565 โดยการยกร่างสาระหมวดเป็นการทํางานร่วมกันขององค์กรเพื่อนมิตรภาคีเครือข่ายสุขภาพ-สุขภาวะทางปัญญา จํานวน 49 คน จาก 31 องค์กร ทั้งหน่วยงานรัฐ เอกชน ประชาสังคม วิชาการ และสื่อมวลชน ผ่านการประชุมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ประชุมเชิงปฏิบัติการ และสื่อสารกันในไลน์กลุ่ม โดยส่วนใหญ่เป็นเครือข่ายที่ทำงานในประเด็นสุขภาพ-สุขภาวะทางปัญญาร่วมกับสช. และสสส. มาก่อน และมีความพยายามทํางานร่วมกันในเชิงยุทธศาสตร์มากขึ้นนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2562 จนถึงปัจจุบัน
เนื้อหาในร่างสาระหมวดฯ ประกอบด้วย นิยามของสุขภาพทางปัญญา (Spiritual Health) แนวทางการพัฒนาสุขภาพทางปัญญา ปัจจัยสําคัญในการพัฒนาสุขภาพทางปัญญา สถานการณ์ปัญหาและประเด็นท้าทายของสุขภาพทางปัญญาในปัจจุบัน เป้าหมายของการทํางาน มาตรการสําคัญที่ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในระยะเวลา 5 ปี และแนวทางการวัดผลสําเร็จในระยะ 1 ปี 3 ปี 5 ปี
คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 3 ฉบับหลัก เมื่อวันที่ 20 ธ.ค. 65 เห็นชอบธรรมนูญฯ ฉบับหลักพร้อมเอกสารประกอบ วันที่ 24 ม.ค. 66 วุฒิสภารับทราบ วันที่ 6 ก.พ. 66 สภาผู้แทนราษฎรรับทราบ วันที่ 9 ก.พ. 66 และประกาศในพระราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 10 เม.ย. 66