บันทึกงานประชุมวิชาการระดับชาติ เครือข่ายความรู้สุขภาวะทางปัญญาครั้งที่ 1
“สุขภาวะทางปัญญา: สุขภาพ จิตวิญญาณ และสังคม”
กลิ่นและการเยียวยา
ชวนออกแบบกลิ่นบำบัดสำหรับตนเองผ่านกระบวนการค้นหาความเป็นตัวตน ดังนี้
เรียนรู้ทฤษฎีพื้นฐานสำหรับการปรุงน้ำหอม ตั้งแต่เรื่อง Fragrance Wheel, Perfume Pyramid, Sensory Marketing
เรียนรู้การจับคู่โน้ตกลิ่น และวางโทนกลิ่นให้เหมาะกับอัตลักษณ์ของแต่ละบุคคล
ลงมือปฏิบัติจริง พร้อมช่วยปรุงกลิ่นให้ออกมาตรงกับตัวตนภายในของผู้เรียน
เราอยากแชร์ความรู้และประสบการณ์สำหรับผู้ที่มีความฝันอยากก้าวเดินในเส้นทางเรื่องกลิ่น ให้เราเป็นสถานที่ร้อยเรียงประสบการณ์ที่ดี และบ่มเพาะเกี่ยวกับเรื่องกลิ่นสำหรับทุกคน
สรุปภาพรวมการจัด
การปรุงความหมายของน้ำหอม ออกแบบมาเป็นการสื่อสารแบบไร้เสียง (Nonverbal Communication) ในกระบวนการรับกลิ่น จมูกและสมองสามารถจดจำและแยกแยะกลิ่นได้เป็นหมื่นกลิ่นถ้าได้รับการฝึกใช้อย่างเต็มศักยภาพ และเชื่อมโยงถึงคน ช่วงเวลา เหตุการณ์ และบริบทต่างๆ โดยกระบวนการนี้เกิดขึ้นในส่วน Limbic System เป็นความรู้สึกที่เกี่ยวโยงกับประสบการณ์ชีวิต ทำให้แต่ละคนอาจตีความไม่เหมือนกัน การใช้กลิ่นเยียวยาอาจแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ (1) สุคนธบำบัด (Aromatherapy) คือการใช้กลิ่นหอมของน้ำมันหอมระเหยจากพืชธรรมชาติ (Essential Oil) ในการช่วยบำบัดรักษาผ่านทางประสาทสัมผัส และ (2) Aromachology ที่มาจากคำว่า Aroma และ Psychology คือไม่สนใจว่าวัตถุดิบที่ใช้ทำมาจากอะไร แต่เน้นความรู้สึกของการรับรู้ในสมอง เช่น เป็นกลิ่นที่ทำให้ผ่อนคลาย ไว้วางใจ ทำให้นอนหลับได้
ในช่วง Workshop ให้ผู้เข้าร่วมได้ลงมือปฏิบัติจริง โดยแบ่งกลิ่นตามโน้ต ได้แก่
Top Note เป็นกลิ่นที่ฟุ้งกระจาย เช่น ซีตรัส ใบไม้เขียว ผลไม้ ให้ความรู้สึกความเย็น สดชื่น
Middle Note ในกลุ่มของดอกไม้และเครื่องเทศ เป็นกลิ่นที่เป็นโครงสร้างหลัก
Base Note เปรียบเหมือนฐานรากของกลิ่น เป็นกลุ่มจากแอมเบอร์หรือไม้ ไม่ฟุ้งกระจายแต่ทน
โดยกระบวนการปรุงน้ำหอมนี้จะทำให้ผู้เข้าร่วมได้สื่อสารภายในกับตนเอง เลือกสรรตามความสนใจ สร้างสรรค์ และให้ความหมายกับสิ่งที่ทำ เปรียบเสมือนการเรียนรู้จากภายใน และเป็นพื้นที่ปลอดภัยให้กับตัวเอง “Be your own sphere”
コメント