top of page
poster cover for small page.jpg

โหนดวิชาการ

      ในการจัดประชุมวิชาการประชุมวิชาการระดับชาติเครือข่ายความรู้สุขภาวะทางปัญญา ครั้งที่ 1 มีองค์กรร่วมจัดงานประชุมวิชาการทั้งในพื้นที่ภูมิภาคและเชิงประเด็นจำนวน 5 โหนด เพื่อเป็นการขยายการทำงานให้ทั่วถึงไปยังภูมิภาคต่างๆ และขยายการทำงานในประเด็นเฉพาะใหม่ๆ ที่น่าสนใจและควรสนับสนุนการทำงานดังนี้

การจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ “การวิจัยการเรียนรู้อย่างมีส่วนร่วม: ร่วมสร้างระเบียบวิธีวิจัยแบบ Spirituality” 

โดย ผศ.ดร. สมสิทธิ์ อัสดรนิธี Homemade 35

เวลา

เดือนมกราคม-กรกฎาคม 2566

สถานที่

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) งามดูพลี, บ้านเซเวียร์ และทางซูม

วัตถุประสงค์

  • สร้างงานวิจัยที่มีระเบียบวิธีวิจัยเชิงจิตวิญญาณ ที่สามารถแก้ปัญหาความซับซ้อนของสังคมและก้าวข้ามวิกฤติอันเกิดจากกระบวนทัศน์เก่าแบบทวิภาวะ สู่วิถีแบบองค์รวม

  • สร้างความเข้มแข็งให้แก่แวดวงวิชาการ ผ่านการทำงานแบบข้ามศาสตร์ร่วมกัน

  • เสริมสร้างสุขภาวะทางปัญญาและสร้างการเปลี่ยนแปลงของจิตสำนึกให้กับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในงานวิจัย

กิจกรรม

  • เปิดรับสมัครผู้ร่วมเวิร์กชอป และจัดประชุมเพื่อสร้าง Commitment และเป้าหมายร่วมกัน (ม.ค. - ก.พ. 66)

  • ประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งที่ 1 Co-creation Workshop ร่วมสร้างต้นแบบระเบียบวิธีวิจัยแบบ Spirituality (16-17 มี.ค. 66)

  • Action and Reflection ปฏิบัติการ ทำงานวิจัย สะท้อนผล และ Follow-up (มี.ค. - มิ.ย. 66)

  • ส่งบทคัดย่อเพื่อร่วมนำเสนอผลงานในงานการประชุมวิชาการ (เม.ย. 66)

  • ประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งที่ 2 Refinement and Conclusion สังเคราะห์ผลงานร่วมกัน (20-21 ก.ค. 66)

  • นำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการระดับชาติเครือข่ายความรู้สุขภาวะทางปัญญา ครั้งที่ 1 (17–18 ส.ค. 66)

การจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ “อนาคตศาสตร์ (Futures Thinking) เพื่อการวางแผนการขับเคลื่อนเรื่อง Spirituality สุขภาวะทางปัญญา”

โดย ผศ.ดร.อรอร ภู่เจริญ สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

เวลา

8 มิถุนายน 2566

สถานที่

บ้านเซเวียร์ อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ

วัตถุประสงค์

  • ใช้เครื่องมือของอนาคตศาสตร์เพื่อสนับสนุนการวางแผนยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการของขบวนการทำงานด้านสุขภาวะทางปัญญาของประเทศไทย

  • ใช้เครื่องมือของอนาคตศาสตร์เพื่อกำหนดอนาคตของสุขภาวะทางปัญญา - จิตวิญญาณ (สิ่งนี้หมายถึงอะไร หรือคล้ายอะไร)

  • ศึกษาความเชื่อมโยงระหว่างแนวคิดอนาคตศาสตร์และสุขภาวะทางปัญญา

กิจกรรม

  • จัดประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งแรกแบบ Serious Play เป็นวงเล็กๆของกลุ่มคนทำงานสุขภาวะทางปัญญา เพื่อร่วมกันกวาดสัญญาณต่างๆในปัจจุบัน รวมทั้งติดตามเทรนด์ เพื่อมองเห็นอนาคตที่เป็นไปได้ของการขับเคลื่อนงานสุขภาวะทางปัญญาในประเทศไทย

  • จัดประชุมเชิงปฏิบัติการในการประชุมวิชาการระดับชาติเครือข่ายความรู้สุขภาวะทางปัญญา ครั้งที่ 1 (17–18 ส.ค. 66) และวางแผนการทำงานต่อเนื่องในประเด็นนี้ระยะยาว

การจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ “การทำงานความหลากหลายทางเพศบนฐานจิตวิญญาณ” 

โดยนายเอกวัฒน์ พิมพ์สวรรค์ และนางสาวสุมาลี โตกทอง ผู้ประสานงานนักกิจกรรมและองค์กรความหลากหลายทางเพศในประเทศไทย

เวลา

16 กรกฎาคม 2566

สถานที่

The Fort สุขุมวิท 51

วัตถุประสงค์

  • ถอดบทเรียนจากประสบการณ์ของคนรุ่นใหม่ในขบวนนักกิจกรรมความหลากหลายทางเพศ ที่นำมิติและเครื่องมือทางจิตวิญญาณมาเสริมพลังและความเข้มแข็งของตนเองและขบวนการทำงาน

  • สังเคราะห์ชุดความรู้จากประสบการณ์เพื่อเผยแพร่สู่สาธารณะ

กิจกรรม

  • นักวิชาการที่ทำงานประเด็นความหลากหลายทางเพศ 2 คน จัดกระบวนการเวิร์กชอปเพื่อพูดคุยแลกเปลี่ยนและถอดบทเรียนกับคนรุ่นใหม่ในขบวนการทำงานประเด็นนี้ ในประเด็นการนำมิติและเครื่องมือทางจิตวิญญาณมาเสริมพลังและความเข้มแข็งของตนเองและขบวนการทำงาน

  • สังเคราะห์ชุดความรู้ และเตรียมนำเสนอผ่านกระบวนการทางศิลปะในห้องย่อย “หลากหนทางในการสร้างพื้นที่ปลอดภัยเพื่อส่งเสริมความเข้มแข็งทางจิตวิญญาณของคนที่มีความหลากหลายทางเพศ” ในเวทีการประชุมวิชาการ วันที่ 17–18 ส.ค.

การจัดประชุมวิชาการ “สุขภาวะทางจิตวิญญาณ: ประสบการณ์การแพทย์และสาธารณสุขท่ามกลางสถานการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนใต้”

โดย ผศ.ดร.อลิสา หะสาเมาะ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

เวลา

8 พฤษภาคม 2566

สถานที่

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

วัตถุประสงค์

  • เพื่อให้บุคลากรด้านการแพทย์และสาธารณสุข ภาคประชาสังคม และนักวิชาการที่ทำงานสร้างสุขภาวะและสันติภาพในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ร่วมกันแลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำงานสุขภาพแบบองค์รวม คือกาย ใจ จิตวิญญาณ และสังคม โดยเฉพาะมิติทางจิตวิญญาณหรือสุขภาวะทางปัญญาที่ทำให้สามารถฝ่าฝันความยากลำบาก ก้าวข้ามบาดแผลทางใจเพื่อการอยู่ร่วมกันสังคม

  • มองเห็นทิศทางการทำงานร่วมกันในอนาคต

กิจกรรม

  • จัดประชุมวิชาการเพื่อแลกเปลี่ยนบทเรียนจากปัญญาปฏิบัติของบุคลากรด้านการแพทย์และสาธารณสุข ภาคประชาสังคม และนักวิชาการที่ทำงานสร้างสุขภาวะและสันติภาพในจังหวัดชายแดน

  • สังเคราะห์ผลจากการประชุมเป็นบทความวิชาการ และนำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการระดับชาติเครือข่ายความรู้สุขภาวะทางปัญญา ครั้งที่ 1 (17–18 ส.ค. 66)

การจัดประชุมวิชาการ “การประเมินสุขภาพแบบองค์รวม โดยชุมชนจัดการตนเอง CHIA” 

โดย ผศ. ดร. ไชยณรงค์ เศรษฐเชื้อ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และ ผศ. ดร. วลัญช์ยา เขตบำรุง คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล

เวลา

10 กรกฎาคม 2566

สถานที่

มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

วัตถุประสงค์

  • แลกเปลี่ยนและนำเสนอบทความทางวิชาการการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพโดยชุมชน ที่ทำโดยนักวิชาการ ภาคประชาสังคม และชาวบ้านผู้ได้รับผลกระทบจากการพัฒนาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

  • เพื่อให้ชุมชน นักวิชาการ ภาคประชาชนสังคม และสังคม เห็นความจำเป็นของการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพโดยชุมชน รวมถึงองค์ความรู้ด้านวิชาการที่จะมีประโยชน์ต่อวงวิชาการและสังคมโดยรวม

  • ร่วมกันพัฒนาระเบียบวิธีวิจัยและแนวคิดทางทฤษฎีเพื่อให้มีการประเมินผลกระทบทางด้านสุขภาพโดยชุมชนที่มีประสิทธิภาพ โดยเน้นให้เกิดการมองเห็นมิติของสุขภาพองค์รวมและมิติจิตวิญญาณเป็นองค์ประกอบร่วมที่สำคัญ

กิจกรรม

  • จัดประชุมวิชาการแลกเปลี่ยนและสังคราะห์การพัฒนาระเบียบวิธีวิจัยและแนวคิดทางทฤษฎี เพื่อให้มีการประเมินผลกระทบทางด้านสุขภาพโดยชุมชน

  • สังเคราะห์ผลจากการประชุมเป็นบทความวิชาการสังคราะห์การพัฒนาระเบียบวิธีวิจัยและแนวคิดทางทฤษฎี เพื่อให้มีการประเมินผลกระทบทางด้านสุขภาพโดยชุมชน และนำมาเสนอในการประชุมวิชาการระดับชาติเครือข่ายความรู้สุขภาวะทางปัญญา ครั้งที่ 1 (17–18 ส.ค. 66)

Logo section_new4.jpg
bottom of page