หลักการและเหตุผล
พลังทางจิตวิญญาณ (Spirituality) เป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้เกิดสุขภาวะทางจิตวิญญาณหรือสุขภาวะทางปัญญา (Spiritual health) ซึ่งเป็นฐานการทำงานด้านสุขภาพที่สำคัญยิ่ง โดยมีหลักฐานเชิงประจักษ์จำนวนมากบ่งชี้ว่า การมีสุขภาวะทางปัญญาของบุคคลส่งผลบวกสุขภาพกาย ใจ และสังคมอย่างชัดเจน ขณะเดียวกัน สุขภาวะทางกาย ใจ และสังคมที่ดี ก็เป็นปัจจัยเอื้อให้บุคคลมีสุขภาวะทางปัญญาที่ดีด้วย แต่ทิศทางการพัฒนาแบบวัตถุนิยมที่ให้ความสำคัญกับสุขภาวะทางกายและสิ่งที่เป็นวัตถุเป็นหลัก ขณะที่ละเลยสุขภาวะทางใจ สังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งสุขภาวะทางปัญญา ส่งผลให้บุคคลและสังคมขาดสมดุล จนเกิดวิกฤตต่างๆทั้งทางสุขภาพ เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม รวมทั้งวิกฤตทางตัวตนและจิตวิญญาณตัวตน การมีชีวิตที่สับสน ไร้คุณค่า และปราศจากความหมาย
ในภาพรวมของโลก มนุษย์อยู่ในช่วงของทุกขภาวะรอบด้าน ทั้งจากอัตราเร่งที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โรคระบาด และการทำลายสิ่งแวดล้อม ซึ่งทำให้โลกเข้าสู่ช่วงเวลาของการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่รอบใหม่ ประกอบกับการเติบโตอย่างรวดเร็วมากกว่ายุคใดของโลกคู่ขนานออนไลน์ ซึ่งมีศักยภาพมหาศาลทั้งด้านบวกและลบ ส่งผลให้เกิดสถานการณ์พังทลายทางจิตใจและจิตวิญญาณโดยเฉพาะกับเด็กและเยาวชนเป็นมวลขนาดใหญ่และเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วแบบที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ทำให้คนทำงานเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงจำนวนมากเสนอการพัฒนาสุขภาวะทางปัญญาเป็นแนวทางการรับมือกับความผันผวนของโลก โดยปรับเปลี่ยนชุดความคิด ความเชื่อ และความคุ้นชินในการมองโลก เพิ่มความสามารถในการอดทนอดกลั้นต่อความไม่แน่นอนในสถานการณ์พลิกผัน สามารถสงบใจ เฝ้ามอง รับฟัง และเปิดกว้างเพื่อรับรู้สถานการณ์อย่างลึกซึ้ง จนเกิดมุมมองที่สดใหม่และยืดหยุ่นในการแก้ปัญหา สามารถรับรู้ความจริง คุณค่า และความหมายทั้งของตนเองและสิ่งรอบตัว รู้ทิศทางที่ถูกต้อง สร้างเพื่อนร่วมทางที่คอยช่วยเหลือกัน และพยายามสื่อสารเพื่อชวนผู้คนมาร่วมขบวนมากขึ้น จนบุคคลและสังคมสามารถกลับสู่การมีสุขภาวะแบบองค์รวม
ในประเทศไทยปัจจุบัน มีผู้ปฏิบัติการและพื้นที่ปฏิบัติการด้านสุขภาวะทางจิตวิญญาณหรือสุขภาวะทางปัญญาจำนวนไม่น้อย เช่นเดียวกับที่มีนักวิชาการจำนวนไม่น้อยที่ทำงานหรือสนใจทำงานสร้างความรู้ด้านสุขภาวะทางปัญญา ทั้งการประเมิน ทดลอง และวิจัยปฏิบัติการ รวมทั้งความรู้ที่ว่าด้วยปัญหา สถานการณ์ สภาวะ และแนวทางการพัฒนาสุขภาวะทางปัญญาในกลุ่มเป้าหมายต่างๆ แต่พบว่ายังขาดการเชื่อมโยงผู้คนและการมีประสบการณ์ทางจิตวิญญาณจากทั้งสองแวดวงเข้าด้วยกัน เพื่อร่วมกันเรียนรู้ สร้างความรู้จากปัญญาปฏิบัติ และร่วมเป็นเครือข่ายการสร้างและใช้ความรู้เพื่อขับเคลื่อนสังคมสุขภาวะจากการนำปัญญาปฏิบัติในมิติจิตวิญญาณมาเยียวยาความทุกข์ของผู้คนและสังคม การสร้างการเชื่อมโยงดังกล่าวจึงถือเป็นภารกิจสำคัญและเร่งด่วนของสังคมที่ต้องการความร่วมมือของฝ่ายต่างๆเข้ามาร่วมสร้างสรรค์ให้เกิดขึ้นได้
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ศูนย์ความรู้และประสานงานสุขภาวะทางปัญญา มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ และสมาคมสังคมวิทยาสาธารณะ จึงอาสาเป็นเจ้าภาพในการจัดประชุมวิชาการระดับชาติเครือข่ายความรู้สุขภาวะทางปัญญา ครั้งที่ 1 เรื่อง “สุขภาวะทางปัญญา: สุขภาพ จิตวิญญาณ และสังคม” ขึ้น โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างความเชื่อมโยงระหว่างการสร้างพื้นที่ปฏิบัติการ การใช้ความรู้ การสร้างความรู้ และการสร้างและสนับสนุนคนทำงานและคนที่สนใจทำงานความรู้ในมิติสุขภาวะทางปัญญา โดยเปิดพื้นที่แบ่งปันความรู้ความเข้าใจความสำคัญของมิติจิตวิญญาณที่เชื่อมโยงกับประเด็นทางสุขภาพและสังคม รวมทั้งเปิดพื้นที่สำหรับการแลกเปลี่ยน แบ่งปัน และสร้างประสบการณ์ตรงร่วมกันในการเข้าถึงมิติจิตวิญญาณและสุขภาวะทางปัญญาด้วยตนเอง เพื่อร่วมกันสร้างศักยภาพใหม่ในการผสานการทำงานวิชาการและปฏิบัติการแบบข้ามศาสตร์เพื่อรับมือความผันผวนที่ถาโถมรอบด้าน สร้างการเชื่อมโยงกับเวทีวิชาการและเวทีนโยบายสุขภาพในระดับนานาชาติ และร่วมเป็นเครือข่ายทำงานเพื่อส่งเสริมสังคมสุขภาวะทางปัญญาในระยะยาว
องค์กรผู้จัด คณะกรรมการ องค์กรร่วมจัดงาน
การจัดประชุมครั้งนี้จัดโดย สำนักสร้างเสริมระบบสื่อและสุขภาวะทางปัญญา สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ศูนย์ความรู้และประสานงานสุขภาวะทางปัญญา มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ และสมาคมสังคมวิทยาสาธารณะ โดยมีคณะกรรมการการจัดงาน และองค์กรร่วมจัดดังนี้
คณะกรรมการจัดประชุมวิชาการ
ที่ปรึกษา
ศ.เกียรติคุณ นพ. ประเวศ วะสี
นพ. สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์
ประธานมูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.)
ประธานกรรมการ
พระสุธีรัตนบัณฑิต, รศ.ดร.
ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์
และผู้อำนวยการหลักสูตรพุทธศาสตร์มหาบัณฑิต ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬา-ลงกรณราชวิทยาลัย
นางจารุปภา วะสี
ผู้อำนวยการศูนย์ความรู้และประสานงานสุขภาวะทางปัญญา
นางสาวชลนภา อนุกูล
นักวิจัยพันธมิตร สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เลขานุการสมาคมสังคมวิทยาสาธารณะ (ประเทศไทย)
และเลขาธิการมูลนิธิเครือข่ายเพื่อสังคมเป็นธรรม
นพ.นพพร ชื่นกลิ่น
ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.)
นพ.อนุวัฒน์ ศุภชุติกุล
ผู้ทรงคุณวุฒิสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (สรพ.)
ศ.ดร.นพ.อิศรางค์ นุชประยูร
ผู้อำนวยการเยือนเย็น วิสาหกิจเพื่อสังคม
รศ.ดร.นฤมล อรุโณทัย
ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ดร.วรชาติ เฉิดชมจันทร์
คณบดีคณะกายภาพบำบัดและเวชศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยรังสิต และเลขาธิการมูลนิธิเครือข่ายพัฒนาศักยภาพผู้นำสร้างสุขภาวะ (คศน.)
ผศ.ธนาชัย สุนทรอนันตชัย
รองคณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
นางสาววรรณา จารุสมบูรณ์
ผู้อำนวยการมูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาชุมชนกรุณา
ดร.ศักดิ์ชัย อนันตตรีชัย
กระบวนกรอิสระแนวจิตตปัญญา และ Ecospirituality
นางญาณี รัชต์บริรักษ์
ผู้อำนวยการสำนักสร้างเสริมระบบสื่อและสุขภาวะทางปัญญา สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
ดร. ศยามล เจริญรัตน์
นักวิจัยชำนาญการ สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
และนายกสมาคมสังคมวิทยาสาธารณะ (ประเทศไทย)
นพ.ประทีป ธนกิจเจริญ
เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.)
พญ.ปิยวรรณ ลิ้มปัญญาเลิศ
ผู้อำนวยการสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (สรพ.)
นพ.ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์
ผู้ทรงคุณวุฒิกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข
ดร.นพ.สกล สิงหะ
ผู้ประสานงานหน่วยชีวันตาภิบาล โรงพยาบาลสงขลานครินทร์
รศ.ดร. ลือชัย ศรีเงินยวง
ผู้อำนวยการศูนย์จิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
รศ. ดร. กิริยา กุลกลการ
รองคณบดีฝ่ายวิชาการ วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ดร.นัฐวุฒิ สิงห์สกุล
หัวหน้าภาควิชามานุษยวิทยา คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร
ดร.สรยุทธ รัตนพจนารถ
ผู้อำนวยการร่วมธนาคารจิตอาสา
คณะกรรมการจัดประชุมวิชาการ
คณะเลขานุการ
ดร. ชนกาญจน์ พันธุ์เดิมวงศ์
นักวิชาการศูนย์ความรู้และประสานงานสุขภาวะทางปัญญา
นายปราย วะสี
ผู้ช่วยผู้อำนวยการศูนย์ความรู้และประสานงานสุขภาวะทางปัญญา
นางสาวอุษณีย์ เพียรภัทรพงศ์
ผู้ประสานงานศูนย์ความรู้และประสานงานสุขภาวะทางปัญญา
คณะทำงานวิชาการ
คณะทำงานกลาง
ดร. ศยามล เจริญรัตน์
นักวิจัยชำนาญการ สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
และประธานสมาคมสังคมวิทยาสาธารณะ
นางจารุปภา วะสี
ผู้อำนวยการศูนย์ความรู้และประสานงานสุขภาวะทางปัญญา
รศ.ดร.กิตติกร นิลมานัต
อาจารย์ประจำคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ผศ. ดร.อรอร ภู่เจริญ
ผู้อำนวยการสถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ดร.ศศิธร ศิลป์วุฒิยา
อาจารย์ประจำคณะโบราณคดี มหาลัยวิทยาลัยศิลปากร
ดร.นพ.วิรุฬ ลิ้มสวาท
หัวหน้ากลุ่มวิจัยสังคมและสุขภาพ สำนักวิชาการสาธารณสุข
สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
นายนภนาท อนุพงศ์พัฒน์
ผู้อำนวยงานมูลนิธิเครือข่ายพุทธิกา
นางสาวสุมาลี โตกทอง
ผู้ประสานงานนักกิจกรรมและองค์กรความหลากหลายทางเพศในประเทศไทย
นางสาวชลนภา อนุกูล
นักวิจัยพันธมิตร สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เลขาธิการมูลนิธิเครือข่ายเพื่อสังคมเป็นธรรม
และเลขานุการสมาคมสังคมวิทยาสาธารณะ
ดร. ชนกาญจน์ พันธุ์เดิมวงศ์
นักวิชาการศูนย์ความรู้และประสานงานสุขภาวะทางปัญญา
ดร. นพ.สกล สิงหะ
อาจารย์ประจำคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
และผู้ประสานงานหน่วยชีวันตาภิบาล โรงพยาบาลสงขลานครินทร์
ผศ. ดร.อดิศร จันทรสุข
คณบดีคณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ดร.อริสา สุมามาลย์
อาจารย์ประจำศูนย์จิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
นางสาววรรณา จารุสมบูรณ์
ประธานมูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาชุมชนกรุณา
นายเอกวัฒน์ พิมพ์สวรรค์
ผู้ประสานงานนักกิจกรรมและองค์กรความหลากหลายทางเพศในประเทศไทย
โหนดวิชาการ
ผศ. ดร.อรอร ภู่เจริญ
ผู้อำนวยการสถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
นายเอกวัฒน์ พิมพ์สวรรค์ และนางสาวสุมาลี โตกทอง
ผู้ประสานงานนักกิจกรรมและองค์กรความหลากหลายทางเพศในประเทศไทย
ผศ. ดร. ไชยณรงค์ เศรษฐเชื้อ และ ผศ. ดร. วลัญช์ยา เขตบำรุง
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล
ผศ.ดร. สมสิทธิ์ อัสดรนิธี
ผู้ก่อตั้ง Homemade 35
ผศ.ดร. อลิสา หะสาเมาะ
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
องค์กรร่วมจัดงานประชุมวิชาการ
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ภาควิชามานุษยวิทยา คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
คณะกายภาพบำบัดและเวชศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยรังสิต
คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.)
กลุ่มวิจัยสังคมและสุขภาพ สำนักวิชาการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
สมาคมนักจิตวิทยาคลินิกไทย
มูลนิธิเครือข่ายพุทธิกา
มูลนิธิเครือข่ายพัฒนาศักยภาพผู้นำสร้างสุขภาวะ (คศน.)
กลุ่ม Thai Transformative Learning for Medicine
สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
คณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ศูนย์จิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
หน่วยชีวันตาภิบาล ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
วิทยาลัยนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (สรพ.)
สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.)
โครงการสร้างสุขและจิตสำนึกด้วยโปรแกรมสติในองค์กร กรมสุขภาพจิต
มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาชุมชนกรุณา
Homemade 35
กลุ่ม Peaceful Death
กลุ่ม Queer Riot
แนวทางการจัดประชุม
การประชุมวิชาการระดับชาติเครือข่ายความรู้สุขภาวะทางปัญญา ครั้งที่ 1 จัดขึ้นในหัวข้อ “สุขภาวะทางปัญญา: สุขภาพ จิตวิญญาณ และสังคม” เป็นการเปิดพื้นที่สร้างความเชื่อมโยงระหว่างนักวิชาการและผู้ปฏิบัติการจากหลากหลายสาขา ให้มาร่วมกันสร้างความรู้จากปัญญาปฏิบัติที่เชื่อมโยงกับมิติสุขภาวะทางปัญญา โดยมีการออกแบบบรรยากาศและแนวทางการจัดประชุมไว้ดังนี้
1. แสดงถึงศักยภาพของความเป็นมนุษย์แบบองค์รวม เรียบง่าย เข้าถึงได้ง่าย มีความเข้มแข็งในมิติจิตวิญญาณ ผสมผสานทั้งความรู้ ความเข้าใจ ความรัก มีความปรารถนาและลงมือทำให้เกิดชีวิตและสังคมที่มีคุณค่าและความหมายท่ามกลางความยากลำบากของสถานการณ์แวดล้อม
2. เป็นพื้นที่อุดมปัญญา มาเจอเพื่อนมิตร และสนุกที่จะทำอะไรด้วยกันต่อ
3. ให้เห็นแนวทางของการทำงานวิชาการที่หลากหลาย สรุปบทเรียนจากปัญญาปฏิบัติ เชื่อมโยงปัจเจกบุคคลและสังคมเข้าด้วยกัน สื่อสารให้คนวงกว้างเข้าถึงง่าย
4. ทำให้เห็นการรวมพลังของมหาวิทยาลัย องค์กร และเครือข่ายการทำงานต่างๆ ทั้งภาครัฐ การเมือง ภาคประชาสังคม ธุรกิจ กลุ่มผู้รับประโยชน์ต่างๆ เพื่อขยับและคลื่อนไหวประเทศไทยไปข้างหน้าด้วยการพัฒนาสุขภาวะทางจิตวิญญาณ ทั้งการเชื่อมโยงกับภาคนโยบาย การเคลื่อนสังคม และการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน
5. ทำให้ผู้เข้าร่วมรู้สึกว่าได้ร่วมเดินทางทางจิตวิญญาณกับผู้เข้าร่วมประชุมคนอื่นๆ ผ่านกิจกรรมที่สร้างความสัมพันธ์กัน ของผู้คนที่มาอยู่ร่วมกัน ผ่านกิจกรรมที่หลากหลายในการเชื่อมโยงการเรียนรู้ทั้งฐานหัว-กาย-ใจ และการเชื่อมความสัมพันธ์รูปแบบต่างๆ
ข้อมูลเพิ่มเติม
1. ภาษา: การประชุมใช้ภาษาไทยเป็นหลัก เอกสารทั้งหมดจัดพิมพ์เป็นภาษาไทย ยกเว้นบทคัดย่อที่จัดพิมพ์ควบคู่ทั้งไทยและอังกฤษ ห้องย่อยใช้ภาษาไทยเป็นหลัก เว้นแต่เจ้าภาพผู้จัดห้องย่อยจะกำหนดเป็นอย่างอื่น
2. การตีพิมพ์ผลงานวิชาการ: ที่ประชุมจัดพิมพ์ Abstract Book เผยแพร่ก่อนประชุม และรวบรวมบทความฉบับเต็มจัดพิมพ์ Proceeding หลังเสร็จงานประชุมแล้ว โดยผู้ประสงค์ตีพิมพ์ผลงานวิชาการ ส่งผลงานได้ที่ jitwiwat2023@gmail.com ตามระยะเวลาในกำหนดการสำคัญ
3. การออกจดหมายเชิญและจดหมายตอบรับ: คณะเลขานุการเป็นผู้ออกจดหมายเชิญสำหรับองค์กรร่วมจัด โหนดวิชาการ เจ้าภาพห้องย่อย และการตอบรับบทคัดย่อ/บทความ ส่วนผู้รับเชิญในห้องย่อย กรุณาติดต่อเจ้าภาพผู้จัดห้องย่อยของท่านเพื่อขอจดหมายเชิญเข้าร่วมประชุม