top of page

T3-5 สุขภาวะทางจิตวิญญาณของชุมชนชายขอบ

บันทึกงานประชุมวิชาการระดับชาติ เครือข่ายความรู้สุขภาวะทางปัญญาครั้งที่ 1

“สุขภาวะทางปัญญา: สุขภาพ จิตวิญญาณ และสังคม”



สุขภาวะทางจิตวิญญาณของชุมชนชายขอบ


บทสังเคราะห์จากประสบการณ์การทำงานของกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ ภาคประชาสังคม และนักวิชาการ ที่ขับเคลื่อนสุขภาวะทางปัญญาในชายแดนใต้ และสามารถฝ่าฟันความยากลำบาก ก้าวข้ามบาดแผลทางใจ เพื่อการอยู่ร่วมกันในสังคม


นักวิชาการและนักสาธารณสุขในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้พยายามแก้ไขปัญหา โครงการอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่ส่งผลต่อประชาชน ผลักดันให้มีการประเมินผลกระทบทางสุขภาวะโดยชุมชน (Community Health Impacts Assessment : CHIA) เพื่อให้ครอบคลุมถึงสุขภาวะทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ



สรุปภาพรวมการจัด


“คนเหล่านี้ต่อสู้เพื่อปกป้องธรรมชาติ วิถีชีวิต และจิตวิญญาณของพวกตัวเอง และไม่ควรให้รัฐหรือนายทุนมาสร้างความชอบธรรมโดยใช้อำนาจให้คนส่วนน้อยต้องเสียสละเพื่อคนส่วนใหญ่”


เรื่องราวจาก 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และหลากหลายชุมชนจากภาคอีสาน สะท้อนถึงผลกระทบต่อสภาวะจิตวิญญาณของประชาชน ที่ทำให้ประชาชนรู้สึกต้องปกป้องวิถีชีวิต ความหลากหลายทางชีวภาพ วัดที่ถูกเคารพ จากการแสวงประโยชน์ “เพื่อคนหมู่มาก” ซึ่งการวิจัยมีทั้งการประเมินผลกระทบสุขภาพชุมชน (CHIA) ให้แก่ชุมชน รวมถึงการบูรณาการ เป็นเครื่องมือที่ทำให้ชุมชนเข้าร่วมกำหนดอนาคตของตนเองในทุกขั้นตอนการดำเนินงาน และมิติของจิตวิญญาณก็เป็นส่วนหนึ่งที่ถูกนำมาพิจารณา


ข้อเสนอแนะหนึ่งคือ การสร้างความชัดเจนว่าความยุติธรรมและการมีชีวิตอย่างมีศักดิ์ศรีคือส่วนหนึ่งของจิตวิญญาณ ผู้วิจัยได้เรียนรู้จากชุมชนต่างๆและพบว่าการพัฒนาที่รัฐและนายทุนนำเสนอ หลายครั้งไม่ได้คำนึงถึงมิตินี้ ไม่ว่าจะเป็นการสร้างโรงไฟฟ้า เขื่อน หรือเขตประมง ดังนั้นเชื่อว่าหากมีการนิยามมิตินี้ให้ชัดเจนออกมาเป็นวิธีการ ก็จะสามารถทำให้เรื่องของสุขภาวะทางด้านจิตวิญญาณเป็นรูปธรรม


อ่านเอกสารบันทึกเวทีเสวนาฉบับเต็มได้ที่ https://bit.ly/3T3444U






Comments


Commenting has been turned off.
bottom of page