top of page

T3-4 การตายของคนเมือง: ระบบชุมชน ระบบสุขภาพ และระบบนโยบายที่จำเป็น

บันทึกงานประชุมวิชาการระดับชาติ เครือข่ายความรู้สุขภาวะทางปัญญาครั้งที่ 1

“สุขภาวะทางปัญญา: สุขภาพ จิตวิญญาณ และสังคม”



การตายของคนเมือง: ระบบชุมชน ระบบสุขภาพ และระบบนโยบายที่จำเป็น


ความตายเป็นเรื่องของทุกคน แต่ความตายในเมืองเป็นเรื่องท้าทาย เพราะเป็นตัวชี้วัดอย่างหนึ่งว่า เมืองหรือสังคมนั้นเป็นอย่างไร


จิตวิญญาณของเมืองไม่ได้กำหนดแค่การมีชีวิต แต่ต้องกำหนดการตายด้วย จากการทำงาน พูดคุย และคลุกคลีกับการตายที่อยู่นอกบริบทโรงพยาบาล นำมาสู่หัวใจสำคัญของห้องย่อยนี้ คือ การฉายภาพความเหลื่อมล้ำที่เกิดขึ้นท่ามกลางความเจริญของเมือง ซึ่งเป็นผลจากโครงสร้างสังคมที่กระทบเราตั้งแต่เกิดจนตาย ความแตกต่างที่เกิดขึ้นในพื้นที่ เรื่องราวของคนเล็กคนน้อย การดูแลคนเปราะบาง เพื่อให้เข้าถึงชีวิตที่ดีขึ้นและมีวาระท้ายที่ดีตามไปด้วย


นี่คือสิ่งที่อยากเปิดประเด็นพูดคุยแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน ให้เห็นปัญหาของเมืองที่ซ้อนทับกับปัญหาเรื่องการตาย โดยมีตัวแทนคนไร้บ้าน คนทำงานขับเคลื่อนเรื่องการตายดี คุณหมอ นักวิชาการ และอยากเชิญคนทำงานในกระทรวงที่เกี่ยวข้องมาร่วมพูดคุยด้วย เพื่อร่วมกันสร้างความตระหนัก สร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีต่อการตาย สร้างจิตวิญญาณของพื้นที่ซึ่งสัมพันธ์กับวิถีชีวิตของคน ที่อาจนำไปสู่การเป็นนโยบาย


เรามีความเชื่อและความหวังให้คนไทยเข้าถึงการตายดี ส่วนตัวอยากสร้างสิ่งแวดล้อมที่มีเมตตาต่อคนทุกแบบ โดยเฉพาะคนด้อยโอกาส ให้สามารถจากไปอย่างสมศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์



สรุปภาพรวมการจัด


รศ.ดร.ภาวิกา ศรีรัตนบัลล์ สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า การเสวนาห้องนี้เป็นเรื่องของการตายของคนเมือง: ระบบชุมชน ระบบสุขภาพ และระบบนโยบายที่จำเป็น โดยวัตถุประสงค์ของห้องนี้ตามการจัดงานของ สสส. ที่ว่าด้วยสุขภาวะและจิตวิญญาณ การเสวนาห้องนี้เป็นห้องที่ตั้งคำถามถึงแง่มุมของการตายที่ยังไม่มีใครเคยตั้งสมมติฐานหรือนึกถึงกัน ซึ่งมี 3 คำที่เป็น Key Concept ของเรื่องนี้ ได้แก่ (1) การตาย (2) สุขภาวะทางปัญญาหรือจิตวิญญาณ (3) การตายในเมือง


สิ่งที่คนมักไม่ค่อยพูดถึง คือความสัมพันธ์ระหว่างสุขภาวะกับเมือง และเมืองกับการตาย จากการฉายภาพของการตายที่เกิดขึ้นในบริบทต่างๆ อาทิ การตายที่เกิดขึ้นในที่สาธารณะ การตายในที่ของโรงพยาบาล การตายของทุกๆคนที่อยู่ที่บ้าน การตายของชุมชน การจัดการความตายต่างๆ พบว่าคนไร้บ้านบ่อยครั้งไม่ได้รับความยุติธรรมและความใส่ใจในฐานะมนุษย์แม้กระทั่งในยามเสียชีวิต ถูกทำร้ายเสียชีวิตไม่มีใครมาตามเรื่องหลังการตาย ในขณะเดียวกัน ผู้สูงวัยที่มีความพร้อมเพราะรู้สึกว่าใช้ชีวิตมาเพียงพอแล้ว กลับไม่ได้ถูกรับฟังหรือได้ตัดสินใจ เชื่อมโยงไปยังการต้องดูแลต้องลูกสาวในขณะที่ต้องทำงานหารายได้ งานของชุมชนกรุณาจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง รวมถึงหมอและพยาบาลมีกระบวนทัศน์เรื่องการตายเป็นสิทธิ ซึ่งในวงเสวนาได้พูดถึงหลักการพิจารณาและแนวทางสำหรับพิจารณาเรื่องการรักษาแบบประคับประคองและการตัดสินใจกลับไปเสียชีวิตที่บ้านด้วย


อ่านเอกสารบันทึกเวทีเสวนาฉบับเต็มได้ที่ https://bit.ly/411Vkhr



Comments


Commenting has been turned off.
bottom of page