top of page

ประชุมเตรียมความพร้อม ​งานประชุม​วิชาการ​ระดับชาติ​เครือข่าย​ความรู้​สุข​ภาวะ​ทาง​ปัญญา​ ค​รั้งที่ 1

การประชุมก่อนการจัดงานประชุม​วิชาการ​ระดับชาติ​เครือข่าย​ความรู้​สุข​ภาวะ​ทาง​ปัญญา​ ค​รั้งที่ 1


วันที่ 24 กรกฎาคม 2566

ณ อาคารศูนย์​เรียนรู้​สุข​ภาวะ สสส.

ผู้เข้าร่วม 40 คน (ผู้จัดห้องย่อย คณะทำงานวิชาการ คณะทำงานการจัดประชุมวิชาการ)




ผลที่ได้


1. ผู้เข้าร่วมมองเห็นภาพรวมของการจัดงานร่วมกัน

2. ผู้เข้าร่วมทำความรู้จักกัน รับฟังแรงบันดาลใจในการทำงานของกันและกัน

3. เกิดการตกผลึกประเด็นสำคัญร่วมกันคือ

  • การทำงานประเด็นจิตวิญญาณและสุขภาวะทางปัญญาไม่ควรมีมิติปัจเจกอย่างเดียว ควรทำงานเป็น Project-Based ที่มีฐานชุมชนรองรับ

  • ควรมีการสร้างพื้นที่ชุมชนกัลยาณมิตรทางสุขภาวะทางปัญญาต่อเนื่อง เพื่อก่อรูปการทำงานที่ใกล้ชิด และทุกคนมีความเป็นเจ้าของร่วมกัน

4. ร่วมกันคิดถึงประเด็นสำคัญที่จะนำเสนอต่อสาธารณะในช่วงท้ายของงานประชุมวิชาการ


กลุ่ม 1 ระบบสังคมที่เป็นธรรม เท่าเทียม และคำนึงถึงความสุขของคนทุกคน

  • เสนอให้นำมิติจิตวิญญาณมาใช้เป็นกรอบในการวาง/กำหนดนโยบายสาธารณะในทุกมิติ เช่น นโยบายด้านความมั่นคง ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม

กลุ่ม 2 ระบบการศึกษาที่เกื้อหนุนให้คนเต็มคน

  • เสนอให้มีการ Shared คุณค่าร่วมและความหมายจิตวิญญาณ

  • เสนอให้มิติของจิตวิญญาณและสุขภาวะทางปัญญาเป็นสิ่งที่ผู้คนนำมาใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน และตระหนักถึงได้ง่าย

  • เสนอให้มีการจัดการองค์ความรู้และถอดบทเรียนจากคนทำงานตัวจริงเสียงจริง โดยเฉพาะจากผู้ร่วมจัดห้องย่อยและทำกิจกรรมต่างๆในเวทีการประชุม

กลุ่ม 3 ระบบสุขภาพที่เยียวยาทั้งกาย ใจ สังคม และจิตวิญญาณ

  • เสนอให้มีการสื่อสารเรื่องสุขภาวะทางปัญญาที่เข้าใจง่าย ชัดเจน และนำไปทำต่อได้จริง โดยฝึกฝนทักษะเรื่องเล่า (Narrative) เป็นทักษะสำคัญสำหรับแพทย์ ญาติ และคนไข้ที่จะเล่าเรื่องได้

  • ให้มีการเรียนการสอนที่ทำให้เห็นถึงวิธีคิดเชิงอำนาจในระบบสุขภาพ และตระหนักว่าสิ่งเหล่านี้เป็นอุปสรรคขัดขวางการดูแลคนไข้

  • เสนอให้การขับเคลื่อนธรรมนูญสุขภาพแห่งชาติฉบับที่ 3 ที่เน้นการมีสุขภาพแบบองค์รวมเกิดขึ้นได้จริง เกิดนโยบายที่ชัดเจนและปฏิบัติได้จริงในกรอบที่วางไว้ 5 ปี โดยคีย์เวิร์ดคือ “สุขภาพองค์รวม” “การแพทย์ที่มีหัวใจความเป็นมนุษย์” และ “การเห็นคุณค่าความเป็นมนุษย์ของทุกคนอย่างเท่าเทียม”

กลุ่มที่ 4 หลากหนทางเชื่อมโลกภายในตนกับโลกกว้าง

  • เสนอให้มีการใช้เครื่องมีอและกระบวนการเรียนรู้ทางสุขภาวะทางปัญญาที่หลากหลายในการดูแลคนที่มีความทุกข์ และคนทำงานกับคนที่มีความทุกข์ เพื่อการเข้าใจมิติภายในตนเอง

  • เสนอให้มีการส่งเสริมการใช้เครื่องมีอและกระบวนการเรียนรู้ทางสุขภาวะทางปัญญาตั้งแต่ประถมวัย

  • เสนอให้สร้างสภาพแวดล้อมให้สะดวกต่อการดำเนินการด้านสุขภาวะทางปัญญา เพื่อให้ผู้คนสามารถเข้าถึงเครื่องมือเหล่านี้ได้ง่าย ทั้งระดับนโยบายรัฐบาล ท้องถิ่น ชุมชน โรงเรียน และสถานที่ทำงาน

Comments


Commenting has been turned off.
bottom of page