top of page
นิทรรศการภาพระลึกชีวิต
The Last Photo Online Exhibition
The Last Photo Exhibition: นิทรรศการภาพระลึกชีวิต
The Last Photo Project: เตรียมตัวตาย
The Last Photo Project: ความทรงจำ
The Last Photo Project: หยุดเวลา
ลุงชวาล
ชีวิตหนึ่งว่ายากลำบากแล้ว
ชีวิตที่สองยิ่งยากลำบากกว่า
หากไม่เรียนรู้และเปลี่ยนแปลงตนเอง
บ่ายสามกว่าแล้ว ตอนที่ลุงชวาลเดินเข้าประตูมา
ลุงชวาลเป็นคนผอมสูง ท่าเดินดูขัดๆเล็กน้อย ไม่คล่องแคล่ว
แต่ก็เดินไปไหนมาไหนได้สบาย
เขามักเดินมาศูนย์แพทย์วัดหนองแวงบ่อยๆ เพราะอยู่ใกล้บ้าน
แต่สิ่งที่สำคัญกว่านั้นก็คือลุงชวาลพยายามฝึกเดิน
เพื่อทำให้ตัวเองแข็งแรง จะได้กลับมามีชีวิตปกติ
และพึ่งพาผู้อื่นให้น้อยที่สุด
ปี 2563 ลุงชวาลป่วยด้วยโรคเส้นเลือดในสมองตีบ
และมีภาวะกระดูกพรุน
ต้องนอนติดเตียงอยู่สองปี ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้
แทบไม่มีความหวังว่าจะหายเป็นปกติ
ตอนนั้นท้อมากจนไม่อยากมีชีวิตอยู่
ซึมเศร้าจนคิดอยากจะฆ่าตัวตาย
สิ่งเดียวที่หล่อเลี้ยงให้เขาลุกขึ้นมามีชีวิตที่สองใ
นวันนี้ก็คือ ภรรยาของเขากว่า 2 ปี
ที่ภรรยาเฝ้าดูแลเอาใจใส่
เป็นทุกอย่างให้เขา อีกทั้งคอยให้กำลังใจเ
คียงข้างลุงชวาลตลอดมา
“ชีวิตของลุงกลับมาดีขึ้นก็เพราะเมีย
เธอเปรียบเสมือนเส้นเลือดใหญ่ในร่างกายของลุงเลย"
เขาพูดจากใจจริงด้วยสำนึกในบุญคุณของภรรยาที่ไม่เคยทิ้ง
ไม่ว่าจะท้อ เหนื่อย หนักแค่ไหน
การได้เห็นใครคนหนึ่งทุ่มเทชีวิตและจิตใจดูแลเขาอย่างเต็มที่
ทำให้ลุงชวาลตัดสินใจลุกขึ้นมาดูแลตัวเองอีกครั้ง
ให้สมกับที่ใครบางคนประทานพรให้เขารอดพ้นจากความตาย
ลุงชวาลรับผิดชอบชีวิตที่สองของเขา
ด้วยการให้ความร่วมมือในการรักษา
ทำกายภาพบำบัด พบแพทย์สม่ำเสมอ
และฝึกฝนจนเดินได้
“ลุงอยากขอบคุณภรรยาที่รักและคอยให้กำลังใจ
ไม่มีเขาก็คงไม่มีเราในวันนี้”
ลุงชวาลรู้ดีว่าเขากลับมาช่วยเหลือตัวเองได้เพราะภรรยา
และเขาจะไม่มีทำให้ชีวิตที่สองที่ได้มาต้องสูญเปล่า
เจตจำนงของเขาฉายชัดอยู่ในภาพที่ปรากฎ
ตรงหน้ามีรอยยิ้มน้อยๆ
สายตามองไปข้างหน้าอย่างมุ่งมั่นและมีความหวัง
หวังให้ชีวิตที่สองของเขาเป็นภาระผู้อื่นให้น้อยที่สุด
ชีวิตที่สองยิ่งยากลำบากกว่า
หากไม่เรียนรู้และเปลี่ยนแปลงตนเอง
บ่ายสามกว่าแล้ว ตอนที่ลุงชวาลเดินเข้าประตูมา
ลุงชวาลเป็นคนผอมสูง ท่าเดินดูขัดๆเล็กน้อย ไม่คล่องแคล่ว
แต่ก็เดินไปไหนมาไหนได้สบาย
เขามักเดินมาศูนย์แพทย์วัดหนองแวงบ่อยๆ เพราะอยู่ใกล้บ้าน
แต่สิ่งที่สำคัญกว่านั้นก็คือลุงชวาลพยายามฝึกเดิน
เพื่อทำให้ตัวเองแข็งแรง จะได้กลับมามีชีวิตปกติ
และพึ่งพาผู้อื่นให้น้อยที่สุด
ปี 2563 ลุงชวาลป่วยด้วยโรคเส้นเลือดในสมองตีบ
และมีภาวะกระดูกพรุน
ต้องนอนติดเตียงอยู่สองปี ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้
แทบไม่มีความหวังว่าจะหายเป็นปกติ
ตอนนั้นท้อมากจนไม่อยากมีชีวิตอยู่
ซึมเศร้าจนคิดอยากจะฆ่าตัวตาย
สิ่งเดียวที่หล่อเลี้ยงให้เขาลุกขึ้นมามีชีวิตที่สองใ
นวันนี้ก็คือ ภรรยาของเขากว่า 2 ปี
ที่ภรรยาเฝ้าดูแลเอาใจใส่
เป็นทุกอย่างให้เขา อีกทั้งคอยให้กำลังใจเ
คียงข้างลุงชวาลตลอดมา
“ชีวิตของลุงกลับมาดีขึ้นก็เพราะเมีย
เธอเปรียบเสมือนเส้นเลือดใหญ่ในร่างกายของลุงเลย"
เขาพูดจากใจจริงด้วยสำนึกในบุญคุณของภรรยาที่ไม่เคยทิ้ง
ไม่ว่าจะท้อ เหนื่อย หนักแค่ไหน
การได้เห็นใครคนหนึ่งทุ่มเทชีวิตและจิตใจดูแลเขาอย่างเต็มที่
ทำให้ลุงชวาลตัดสินใจลุกขึ้นมาดูแลตัวเองอีกครั้ง
ให้สมกับที่ใครบางคนประทานพรให้เขารอดพ้นจากความตาย
ลุงชวาลรับผิดชอบชีวิตที่สองของเขา
ด้วยการให้ความร่วมมือในการรักษา
ทำกายภาพบำบัด พบแพทย์สม่ำเสมอ
และฝึกฝนจนเดินได้
“ลุงอยากขอบคุณภรรยาที่รักและคอยให้กำลังใจ
ไม่มีเขาก็คงไม่มีเราในวันนี้”
ลุงชวาลรู้ดีว่าเขากลับมาช่วยเหลือตัวเองได้เพราะภรรยา
และเขาจะไม่มีทำให้ชีวิตที่สองที่ได้มาต้องสูญเปล่า
เจตจำนงของเขาฉายชัดอยู่ในภาพที่ปรากฎ
ตรงหน้ามีรอยยิ้มน้อยๆ
สายตามองไปข้างหน้าอย่างมุ่งมั่นและมีความหวัง
หวังให้ชีวิตที่สองของเขาเป็นภาระผู้อื่นให้น้อยที่สุด
พ่อชัย-แม่ขวัญ
พ่อชัย-แม่ขวัญ (สามีภรรยาที่ดูแลกันในยามสุขและทุกข์)
หลังเกษียณอายุพ่อชัยกลับมาอยู่บ้าน
ความที่ยังแข็งแรง ลูกๆ ก็โตหมดแล้ว
พ่อชัยจึงมีเวลาได้ทำกิจกรรมหลายอย่างที่ตนเองชอบ
ในขณะที่ภรรยาและลูกๆ คอยห้ามปรามเพราะอยากให้พัก
หลังจากที่ทำงานหาเลี้ยงครอบครัวมาตลอดชีวิต
ไม่กี่ปีหลังจากนั้นพ่อชัยเริ่มมีอาการของโรคสมองเสื่อม
แม้ยังช่วยเหลือตัวเองได้ดี แต่ความทรงจำที่ขาดหาย
ทำให้ต้องเปลี่ยนบทบาทมาเป็นผู้ป่วยเรื้อรังที่ต้องรับยา
และพบแพทย์อย่างต่อเนื่อง
ภรรยาที่เคยเป็นช้างเท้าหลัง ดูแลทำกับข้าว
เลี้ยงลูก ดูแลบ้านช่อง
กลายมาเป็นผู้ดูแลเต็มเวลา นำพาครอบครัว
ให้เผชิญกับความจริงบทใหม่ของชีวิต
และทำหน้าที่ตัดสินใจทุกอย่างในบ้าน โดยมีลูกสาว 2 คน เป็นกำลังใจ
“ไม่คิดว่าจะเร็วขนาดนี้ ถ้าแม่มีโอกาสได้ไปแนะนำใคร
จะบอกว่าแก่ตัวมาอย่าอยู่เฉยๆ นะ หัดทำโน่นทำนี่บ้าง
สมองจะได้ใช้งาน”
เธอเพิ่งตระหนักว่าการใช้ชีวิตในบั้นปลาย
ต้องมีความรู้ความเข้าใจ
แต่การพักผ่อนอยู่บ้านเฉยๆ กินๆนอน ไม่ใช่ว่าจะดีเสมอไป
แม่ขวัญ ภรรยาคู่ทุกข์คู่ยากทำใจได้เร็ว
และไม่เสียเวลากับการคร่ำครวญก่นด่าโชคชะตา
แม้การดูแลใครสักคนตลอดวันจะไม่ใช่เรื่องง่าย
โดยเฉพาะผู้ป่วยสมองเสื่อมที่มีอารมณ์แปรปรวน
“ทำไงได้มาถึงจุดนี้แล้วก็ต้องดูแลกันไป”
หัวใจเธอช่างยิ่งใหญ่ ความรักของเธอไม่ใช่คำพูด
แต่คือการกระทำทั้งหมดตั้งแต่ตื่นเช้าจนเข้านอน
“ก็ไม่ได้ดีตลอดหรอกนะ วันไหนคนไข้ดื้อหรืองอแงมากๆ
ก็มีเสียงดังเหมือนกัน”
เธอหัวเราะยามพูดถึงช่วงเวลายากๆในการดูแลโดยไม่ปิดบัง
แล้วแม่ดูแลตัวเองยังไง เรานึกเป็นห่วง
“แม่ชอบทำกับข้าว บางวันก็ทำซาลาเปา
ทำขนมมาแจกพวกเจ้าหน้าที่ในโรงพยาบาล
ก็มีความสุขนะ มันไม่ต้องคิดอะไร
บางวันก็ไปชอปปิ้งสินค้าญี่ปุ่นมือสองพอได้คลายเครียด
จนพวกของใช้ของกระจุกกระจิกนี่เต็มบ้านไปหมดแล้ว”
เธอเล่าถึงตัวเองอย่างอารมณ์ดี
ไม่แปลกใจเลยที่พ่อชัยวันนี้ยังดูแข็งแรง
เดินได้ กินเองได้ และหน้าตาผ่องใส
พ่อชัยแอคติ้งต่อหน้าช่างภาพจนกองเชียร์พากันสนุกสนาน
ให้ทำท่าอะไรพ่อชัยก็ทำตามโดยไม่อิดออด
ช่างภาพกดชัดเตอร์ระรัว
เพราะมองมุมไหนพ่อชัยก็ดูน่ารัก สดใส อารมณ์ดี
เรารู้ว่าเบื้องหลังชีวิตคนที่อยู่ตรงหน้ามีใครคนหนึ่ง
ที่ทำหน้าที่ด้วยความรัก
ไม่เคยตั้งคำถาม ไม่เคยเรียกร้อง
และพร้อมจะอยู่เคียงข้างเสมอทั้งในยามสุขและทุกข์
เป็นความจริงที่ว่าความทรงจำบางอย่างอาจลืมเลือน
แต่พลังงานความรักที่ใส่ใจดูแลกันไม่เคยหายไปไหน
หลังเกษียณอายุพ่อชัยกลับมาอยู่บ้าน
ความที่ยังแข็งแรง ลูกๆ ก็โตหมดแล้ว
พ่อชัยจึงมีเวลาได้ทำกิจกรรมหลายอย่างที่ตนเองชอบ
ในขณะที่ภรรยาและลูกๆ คอยห้ามปรามเพราะอยากให้พัก
หลังจากที่ทำงานหาเลี้ยงครอบครัวมาตลอดชีวิต
ไม่กี่ปีหลังจากนั้นพ่อชัยเริ่มมีอาการของโรคสมองเสื่อม
แม้ยังช่วยเหลือตัวเองได้ดี แต่ความทรงจำที่ขาดหาย
ทำให้ต้องเปลี่ยนบทบาทมาเป็นผู้ป่วยเรื้อรังที่ต้องรับยา
และพบแพทย์อย่างต่อเนื่อง
ภรรยาที่เคยเป็นช้างเท้าหลัง ดูแลทำกับข้าว
เลี้ยงลูก ดูแลบ้านช่อง
กลายมาเป็นผู้ดูแลเต็มเวลา นำพาครอบครัว
ให้เผชิญกับความจริงบทใหม่ของชีวิต
และทำหน้าที่ตัดสินใจทุกอย่างในบ้าน โดยมีลูกสาว 2 คน เป็นกำลังใจ
“ไม่คิดว่าจะเร็วขนาดนี้ ถ้าแม่มีโอกาสได้ไปแนะนำใคร
จะบอกว่าแก่ตัวมาอย่าอยู่เฉยๆ นะ หัดทำโน่นทำนี่บ้าง
สมองจะได้ใช้งาน”
เธอเพิ่งตระหนักว่าการใช้ชีวิตในบั้นปลาย
ต้องมีความรู้ความเข้าใจ
แต่การพักผ่อนอยู่บ้านเฉยๆ กินๆนอน ไม่ใช่ว่าจะดีเสมอไป
แม่ขวัญ ภรรยาคู่ทุกข์คู่ยากทำใจได้เร็ว
และไม่เสียเวลากับการคร่ำครวญก่นด่าโชคชะตา
แม้การดูแลใครสักคนตลอดวันจะไม่ใช่เรื่องง่าย
โดยเฉพาะผู้ป่วยสมองเสื่อมที่มีอารมณ์แปรปรวน
“ทำไงได้มาถึงจุดนี้แล้วก็ต้องดูแลกันไป”
หัวใจเธอช่างยิ่งใหญ่ ความรักของเธอไม่ใช่คำพูด
แต่คือการกระทำทั้งหมดตั้งแต่ตื่นเช้าจนเข้านอน
“ก็ไม่ได้ดีตลอดหรอกนะ วันไหนคนไข้ดื้อหรืองอแงมากๆ
ก็มีเสียงดังเหมือนกัน”
เธอหัวเราะยามพูดถึงช่วงเวลายากๆในการดูแลโดยไม่ปิดบัง
แล้วแม่ดูแลตัวเองยังไง เรานึกเป็นห่วง
“แม่ชอบทำกับข้าว บางวันก็ทำซาลาเปา
ทำขนมมาแจกพวกเจ้าหน้าที่ในโรงพยาบาล
ก็มีความสุขนะ มันไม่ต้องคิดอะไร
บางวันก็ไปชอปปิ้งสินค้าญี่ปุ่นมือสองพอได้คลายเครียด
จนพวกของใช้ของกระจุกกระจิกนี่เต็มบ้านไปหมดแล้ว”
เธอเล่าถึงตัวเองอย่างอารมณ์ดี
ไม่แปลกใจเลยที่พ่อชัยวันนี้ยังดูแข็งแรง
เดินได้ กินเองได้ และหน้าตาผ่องใส
พ่อชัยแอคติ้งต่อหน้าช่างภาพจนกองเชียร์พากันสนุกสนาน
ให้ทำท่าอะไรพ่อชัยก็ทำตามโดยไม่อิดออด
ช่างภาพกดชัดเตอร์ระรัว
เพราะมองมุมไหนพ่อชัยก็ดูน่ารัก สดใส อารมณ์ดี
เรารู้ว่าเบื้องหลังชีวิตคนที่อยู่ตรงหน้ามีใครคนหนึ่ง
ที่ทำหน้าที่ด้วยความรัก
ไม่เคยตั้งคำถาม ไม่เคยเรียกร้อง
และพร้อมจะอยู่เคียงข้างเสมอทั้งในยามสุขและทุกข์
เป็นความจริงที่ว่าความทรงจำบางอย่างอาจลืมเลือน
แต่พลังงานความรักที่ใส่ใจดูแลกันไม่เคยหายไปไหน
คุณพิชัย-ลูกชาย
“รอยยิ้มแห่งความหวัง สุขจากดวงตานิรันดร์”
ภาษิตทิเบตกล่าวว่า “ระหว่างพรุ่งนี้กับชาติหน้า
ไม่มีใครรู้ว่าอะไรจะมาก่อน”
นี่เป็นความจริงที่เราต้องตระหนักอยู่เสมอ
การพบกันครั้งนี้อาจเป็นครั้งสุดท้ายก็ได้
เพราะฉะนั้นจงใช้เวลากับคนตรงหน้าประหนึ่งว่าเป็นวันสุดท้ายของชีวิต
ขอบคุณเสี้ยววินาทีที่พ่อและลูกชายคู่นี้ก้าวข้ามความเขินอาย
และส่งมอบความรู้สึกดีๆที่มีให้กันผ่านการถ่ายภาพ last photo
ความรัก ความใส่ใจ ถูกรับรู้โดยไม่มีคำพูด
ความอบอุ่นยังตราตรึงในความรู้สึก
และภาพความทรงจำในวันนั้นได้กลายเป็นภาพสุดท้ายของชีวิตในวันนี้
บ่ายคล้อยแล้ว ลูกชายเข็นรถนั่งให้กับพ่อ หรือคุณพิชัย
เพื่อเตรียมตัวพาพ่อกลับบ้านหลังจากที่ตรวจรักษาเสร็จเรียบร้อย
หมอแจ๊คที่เคยดูแลสมัยที่อยู่ศูนย์แพทย์ในเมืองเดินผ่านมาพอดี
จึงทักทายเพราะจำคนไข้ได้แม่น หลังจากพูดคุยไถ่ถามทุกข์สุข
คุณหมอพูดหยั่งเชิงคุณพิชัยว่าอยากถ่ายภาพสวยๆ เก็บไว้มั้ย
เพราะโปรเจค Last Photo สัญจรมาที่โรงพยาบาลศูนย์ขอนแก่น
และอยู่ไม่ไกลจากตรงนี้
คุณพิชัย ตาเป็นประกายด้วยความสนใจ
กระตือรือล้นให้ลูกชายพาไปยังบูธที่ทีมงานจัดกิจกรรมอยู่
ลูกชายสวมเสื้อแขนยาวมีฮูดคลุมศรีษะจึงเข็นรถนั่ง
ไปยังสถานที่เป้าหมายด้วยความเกรงใจ
เมื่อรถนั่งของคุณพิชัยถูกเข็นมาอยู่ตรงหน้าช่างภาพ
ซึ่งมีฉากกำบังช่วยจัดแสงให้พอดี
ช่างภาพเก็บภาพคุณพิชัยโดยไม่รอช้า ในขณะที่ลูกชายเดินไปลงทะเบียนที่โต๊ะ
เมื่อหันกลับมา เราได้เห็นรอยยิ้มของคุณพิชัยผ่านหน้าจอมอนิเตอร์
ชายสูงวัยที่นั่งบนรถเข็นผู้ป่วยเมื่อสักครู่เหมือนเป็นคนละคน
รอยยิ้มสดใส แววตาเปล่งประกาย
ช่างภาพขอให้ลูกชายขยับรถเข็นมาอีกด้านหนึ่ง
เพื่อเก็บภาพด้านข้าง แต่ท่าทางเก้ๆ กังๆ ของลูกชาย
ทำให้ช่างภาพอดแซวไม่ได้
คุณพิชัย รีบออกตัวแทน “ก่อนหน้านี้ยังเดินเองได้
ลูกเลยไม่ค่อยได้พามาโรงพยาบาล ช่วงหลังลูกก็พามาตลอด”
ชั่วขณะที่พ่อลูกสบตากัน เรามองเห็นความรัก ความหวัง และความภูมิใจเปี่ยมล้น
จนอดชวนให้ทั้งสองถ่ายภาพคู่กันไม่ได้
ลูกชายที่ดูขัดเขินในตอนแรก กลับให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี
จนเราได้ภาพที่น่าประทับใจของสองพ่อลูก
ที่ไม่เคยได้ถ่ายภาพร่วมกันเลยสักครั้ง และกลายเป็นภาพที่ดีที่สุดของวันนั้น
ก่อนกลับเราถามคุณพิชัยว่า อยากเห็นชีวิตต่อจากนี้เป็นยังไง
“ผมอยากหายครับ อยากมีโอกาสได้อยู่กับลูกให้นานที่สุด”
เรารู้ว่าเขาป่วยด้วยโรคที่รักษาได้ยาก
แต่แววตาคู่นั้นเต็มไปด้วยความหวัง
“พวกเราก็อยากให้เป็นอย่างนั้นค่ะ” เราให้กำลังใจท่าน
สามเดือนผ่านไป ลูกชายส่งข้อความมาบอกว่า
“คุณพ่อไปสบายแล้วครับ” เราอดใจหายไม่ได้
ที่ได้รู้ว่าวันนั้นคือการพบกันครั้งสุดท้ายของพวกเรา
ภาพที่ถ่ายในวันนั้นยังประทับอยู่ในความรู้สึก
บัดนี้กลายเป็นภาพแห่งความทรงจำสุดท้ายในชีวิตจริงของพ่อลูกคู่นี้ไปเสียแล้ว
แม้ไม่รู้ว่าความสัมพันธ์ก่อนหน้าของทั้งคู่เป็นอย่างไร แต่เรามั่นใจว่า
การถ่ายภาพในวันนั้นได้บันทึกความรักของพ่อและความรักของลูกให้อยู่ในหัวใจตลอดไป
ภาษิตทิเบตกล่าวว่า “ระหว่างพรุ่งนี้กับชาติหน้า
ไม่มีใครรู้ว่าอะไรจะมาก่อน”
นี่เป็นความจริงที่เราต้องตระหนักอยู่เสมอ
การพบกันครั้งนี้อาจเป็นครั้งสุดท้ายก็ได้
เพราะฉะนั้นจงใช้เวลากับคนตรงหน้าประหนึ่งว่าเป็นวันสุดท้ายของชีวิต
ขอบคุณเสี้ยววินาทีที่พ่อและลูกชายคู่นี้ก้าวข้ามความเขินอาย
และส่งมอบความรู้สึกดีๆที่มีให้กันผ่านการถ่ายภาพ last photo
ความรัก ความใส่ใจ ถูกรับรู้โดยไม่มีคำพูด
ความอบอุ่นยังตราตรึงในความรู้สึก
และภาพความทรงจำในวันนั้นได้กลายเป็นภาพสุดท้ายของชีวิตในวันนี้
บ่ายคล้อยแล้ว ลูกชายเข็นรถนั่งให้กับพ่อ หรือคุณพิชัย
เพื่อเตรียมตัวพาพ่อกลับบ้านหลังจากที่ตรวจรักษาเสร็จเรียบร้อย
หมอแจ๊คที่เคยดูแลสมัยที่อยู่ศูนย์แพทย์ในเมืองเดินผ่านมาพอดี
จึงทักทายเพราะจำคนไข้ได้แม่น หลังจากพูดคุยไถ่ถามทุกข์สุข
คุณหมอพูดหยั่งเชิงคุณพิชัยว่าอยากถ่ายภาพสวยๆ เก็บไว้มั้ย
เพราะโปรเจค Last Photo สัญจรมาที่โรงพยาบาลศูนย์ขอนแก่น
และอยู่ไม่ไกลจากตรงนี้
คุณพิชัย ตาเป็นประกายด้วยความสนใจ
กระตือรือล้นให้ลูกชายพาไปยังบูธที่ทีมงานจัดกิจกรรมอยู่
ลูกชายสวมเสื้อแขนยาวมีฮูดคลุมศรีษะจึงเข็นรถนั่ง
ไปยังสถานที่เป้าหมายด้วยความเกรงใจ
เมื่อรถนั่งของคุณพิชัยถูกเข็นมาอยู่ตรงหน้าช่างภาพ
ซึ่งมีฉากกำบังช่วยจัดแสงให้พอดี
ช่างภาพเก็บภาพคุณพิชัยโดยไม่รอช้า ในขณะที่ลูกชายเดินไปลงทะเบียนที่โต๊ะ
เมื่อหันกลับมา เราได้เห็นรอยยิ้มของคุณพิชัยผ่านหน้าจอมอนิเตอร์
ชายสูงวัยที่นั่งบนรถเข็นผู้ป่วยเมื่อสักครู่เหมือนเป็นคนละคน
รอยยิ้มสดใส แววตาเปล่งประกาย
ช่างภาพขอให้ลูกชายขยับรถเข็นมาอีกด้านหนึ่ง
เพื่อเก็บภาพด้านข้าง แต่ท่าทางเก้ๆ กังๆ ของลูกชาย
ทำให้ช่างภาพอดแซวไม่ได้
คุณพิชัย รีบออกตัวแทน “ก่อนหน้านี้ยังเดินเองได้
ลูกเลยไม่ค่อยได้พามาโรงพยาบาล ช่วงหลังลูกก็พามาตลอด”
ชั่วขณะที่พ่อลูกสบตากัน เรามองเห็นความรัก ความหวัง และความภูมิใจเปี่ยมล้น
จนอดชวนให้ทั้งสองถ่ายภาพคู่กันไม่ได้
ลูกชายที่ดูขัดเขินในตอนแรก กลับให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี
จนเราได้ภาพที่น่าประทับใจของสองพ่อลูก
ที่ไม่เคยได้ถ่ายภาพร่วมกันเลยสักครั้ง และกลายเป็นภาพที่ดีที่สุดของวันนั้น
ก่อนกลับเราถามคุณพิชัยว่า อยากเห็นชีวิตต่อจากนี้เป็นยังไง
“ผมอยากหายครับ อยากมีโอกาสได้อยู่กับลูกให้นานที่สุด”
เรารู้ว่าเขาป่วยด้วยโรคที่รักษาได้ยาก
แต่แววตาคู่นั้นเต็มไปด้วยความหวัง
“พวกเราก็อยากให้เป็นอย่างนั้นค่ะ” เราให้กำลังใจท่าน
สามเดือนผ่านไป ลูกชายส่งข้อความมาบอกว่า
“คุณพ่อไปสบายแล้วครับ” เราอดใจหายไม่ได้
ที่ได้รู้ว่าวันนั้นคือการพบกันครั้งสุดท้ายของพวกเรา
ภาพที่ถ่ายในวันนั้นยังประทับอยู่ในความรู้สึก
บัดนี้กลายเป็นภาพแห่งความทรงจำสุดท้ายในชีวิตจริงของพ่อลูกคู่นี้ไปเสียแล้ว
แม้ไม่รู้ว่าความสัมพันธ์ก่อนหน้าของทั้งคู่เป็นอย่างไร แต่เรามั่นใจว่า
การถ่ายภาพในวันนั้นได้บันทึกความรักของพ่อและความรักของลูกให้อยู่ในหัวใจตลอดไป
แม่กุ้ง-หนูอิ่ม
“หนูอิ่มลูกทีไม่เคยสงสัยความรักสุดหัวใจของแม่กุ้ง”
ทสานุช ไทกุล หรือแม่กุ้ง เจ้าของร้านโอยัวะ 3 สาขา
ซึ่งเป็นธุรกิจร้านอาหาร
ที่เธอและสามีบุกเบิกฝ่าฟันร่วมกันมา กว่า 20 ปี
จนกลายเป็นกิจการของครอบครัว
ซึ่งเป็นงานที่ไม่ง่ายเลยสำหรับผู้หญิงตัวเล็กๆ
โดยเฉพาะในช่วงการระบาดของโควิด
แต่แม่กุ้งก็พยายามทำทุกอย่างเพื่อให้ร้านยังทำหน้าที่ต่อไปได้
และช่วยให้หลายชีวิตได้มีงานทำ มีเงินไปเลี้ยงดูครอบครัว
แน่นอนว่าเบื้องหลังพลังอันแข็งแกร่งเธอมีสามี
ที่คอยสนับสนุนเธอในทุกทาง
และมีลูกสาว “หนูอิ่ม” ที่เป็นดั่งขุมทรัพย์ล้ำค่า
เป็นพลังที่เติมเต็มชีวิตของเธอและครอบครัว
"กุ้งมีอิ่มยากมากจนเราถอดใจไปแล้วเรื่องของการมีลูกค่ะ
แถมมีลูกตอนอายุมากอีก หนูอิ่มนั้นเป็นทั้งโจทย์ เป็นทั้งครู
เป็นเรื่องสนุกให้เราเรียนรู้ เป็นความสดชื่นของคนในครอบครัว"
แม่กุ้งพูดถึงลูกสาวที่เธอรักสุดหัวใจ
เมื่อชีวิตมอบหนูอิ่มเป็นของขวัญ แม่กุ้งจึงรักและดูแลอย่างดีที่สุด
"กุ้งเลี้ยงลูกแบบเพื่อน เลี้ยงแบบใช้เหตุผลสอนกัน
กุ้งไม่เคยตีลูกเลยเพราะกุ้งบอกลูกว่า
เมื่อถึงวัยที่เราสื่อสารกันรู้เรื่องอย่างงี้แล้ว
เราควรที่จะคุยกันแบบเข้าใจ
ว่าสิ่งใดควรทำไม่ควรทำด้วยการยอมรับ
ไม่ใช่ว่าไม่ทำเพราะกลัวแม่ดุ
หรือดื้อดึงเกเรจะทำสิ่งที่ไม่ควรทำ
โดยไม่เห็นหัวใจคนที่เค้ารักเรา”
แม่กุ้งแบ่งปันวิธีสอนลูกแบบคนโตๆ คุยกัน
แต่หลายอย่างลูกก็เรียนรู้จากแม่
"กุ้งชอบวาดชอบบันทึก อิ่มจึงได้นิสัยชอบวาดชอบเขียนจากกุ้งมากๆ
อิ่มเป็นคนนิ่งๆเงียบๆ บางครั้งถูกมองเหมือนคนไม่มั่นใจ ไม่กล้าแสดงออก
ดูจะคล้ายกุ้งมาก like mother like daughter ยังงั้นเลย แต่กุ้งคิดว่า
ทุกคนมีจุดดีจุดด้อย อิ่มเงียบมีความส่วนตัวสูง ชอบวาดรูปชอบอ่านหนังสือ
แต่ก็เป็นคนเย็นๆ พูดง่าย”
แม่กุ้งพยายามทำความเข้าใจลูกผ่านสายตาของตัวเอง
ในวัยเดียวกันซึ่งทำให้เธอปล่อยวางเรื่องลูกได้ง่ายขึ้น
ไม่เคร่งเครียดบีบคั้นให้ลูก
ให้ต้องทำตามความปรารถนาของเธอหรือค่านิยมของสังคม
หนูอิ่มจึงเป็นคนร่าเริง ใสๆ ไม่เคยคิดไม่ดีกับใคร ไม่เกเร
ไม่แก่งแย่ง ไม่สู้ใคร
ที่สำคัญเธอมองโลกแง่บวก ไม่เคยโกรธหรือหงุดหงิดเวลาถูกล้อ
"ดูรอยยิ้มจากฟันยื่นๆของเธอแล้วจะเข้าใจค่ะ
ขนาดเราเล่นล้อเลียนกันว่าหมาดำบ้าง
ว่าฟันยื่นบ้าง หรืออะไรขำๆ
อิ่มก้อไม่เห็นเคยโกรธหรือหงุดหงิดเลย ใจเธอใสมาก"
ที่เป็นเช่นนี้ได้ก็เพราะหนูอิ่มไม่เคยสงสัย
ในความรักที่แม่มีต่อเธอ เป็นรักแท้ที่ไม่มีเงื่อนไข
หนูอิ่มจึงไร้ความกังวลต่อคำพูดใดๆ
ภาพที่เห็นตรงหน้าจึงเป็นความรักที่บริสุทธิ์ เป็นรอยยิ้มที่จริงใจ
และเป็นความทรงจำดีๆ ที่ทั้งคู่มอบให้แก่กัน
“แม่รักลูกสุดหัวใจ”
คือถ้อยคำที่เธอบอกลูกเสมอ ไม่ว่าวันนี้หรือวันไหน
หากวันใดที่เธอไม่อยู่เธอมั่นใจว่าหนูอิ่มจะรักตัวเองมากพอ
ที่จะนำพาชีวิตของตนไปในทางที่ถูกที่ควร
เกื้อกูลตนเอง และผู้อื่นบนโลกใบนี้
ทสานุช ไทกุล หรือแม่กุ้ง เจ้าของร้านโอยัวะ 3 สาขา
ซึ่งเป็นธุรกิจร้านอาหาร
ที่เธอและสามีบุกเบิกฝ่าฟันร่วมกันมา กว่า 20 ปี
จนกลายเป็นกิจการของครอบครัว
ซึ่งเป็นงานที่ไม่ง่ายเลยสำหรับผู้หญิงตัวเล็กๆ
โดยเฉพาะในช่วงการระบาดของโควิด
แต่แม่กุ้งก็พยายามทำทุกอย่างเพื่อให้ร้านยังทำหน้าที่ต่อไปได้
และช่วยให้หลายชีวิตได้มีงานทำ มีเงินไปเลี้ยงดูครอบครัว
แน่นอนว่าเบื้องหลังพลังอันแข็งแกร่งเธอมีสามี
ที่คอยสนับสนุนเธอในทุกทาง
และมีลูกสาว “หนูอิ่ม” ที่เป็นดั่งขุมทรัพย์ล้ำค่า
เป็นพลังที่เติมเต็มชีวิตของเธอและครอบครัว
"กุ้งมีอิ่มยากมากจนเราถอดใจไปแล้วเรื่องของการมีลูกค่ะ
แถมมีลูกตอนอายุมากอีก หนูอิ่มนั้นเป็นทั้งโจทย์ เป็นทั้งครู
เป็นเรื่องสนุกให้เราเรียนรู้ เป็นความสดชื่นของคนในครอบครัว"
แม่กุ้งพูดถึงลูกสาวที่เธอรักสุดหัวใจ
เมื่อชีวิตมอบหนูอิ่มเป็นของขวัญ แม่กุ้งจึงรักและดูแลอย่างดีที่สุด
"กุ้งเลี้ยงลูกแบบเพื่อน เลี้ยงแบบใช้เหตุผลสอนกัน
กุ้งไม่เคยตีลูกเลยเพราะกุ้งบอกลูกว่า
เมื่อถึงวัยที่เราสื่อสารกันรู้เรื่องอย่างงี้แล้ว
เราควรที่จะคุยกันแบบเข้าใจ
ว่าสิ่งใดควรทำไม่ควรทำด้วยการยอมรับ
ไม่ใช่ว่าไม่ทำเพราะกลัวแม่ดุ
หรือดื้อดึงเกเรจะทำสิ่งที่ไม่ควรทำ
โดยไม่เห็นหัวใจคนที่เค้ารักเรา”
แม่กุ้งแบ่งปันวิธีสอนลูกแบบคนโตๆ คุยกัน
แต่หลายอย่างลูกก็เรียนรู้จากแม่
"กุ้งชอบวาดชอบบันทึก อิ่มจึงได้นิสัยชอบวาดชอบเขียนจากกุ้งมากๆ
อิ่มเป็นคนนิ่งๆเงียบๆ บางครั้งถูกมองเหมือนคนไม่มั่นใจ ไม่กล้าแสดงออก
ดูจะคล้ายกุ้งมาก like mother like daughter ยังงั้นเลย แต่กุ้งคิดว่า
ทุกคนมีจุดดีจุดด้อย อิ่มเงียบมีความส่วนตัวสูง ชอบวาดรูปชอบอ่านหนังสือ
แต่ก็เป็นคนเย็นๆ พูดง่าย”
แม่กุ้งพยายามทำความเข้าใจลูกผ่านสายตาของตัวเอง
ในวัยเดียวกันซึ่งทำให้เธอปล่อยวางเรื่องลูกได้ง่ายขึ้น
ไม่เคร่งเครียดบีบคั้นให้ลูก
ให้ต้องทำตามความปรารถนาของเธอหรือค่านิยมของสังคม
หนูอิ่มจึงเป็นคนร่าเริง ใสๆ ไม่เคยคิดไม่ดีกับใคร ไม่เกเร
ไม่แก่งแย่ง ไม่สู้ใคร
ที่สำคัญเธอมองโลกแง่บวก ไม่เคยโกรธหรือหงุดหงิดเวลาถูกล้อ
"ดูรอยยิ้มจากฟันยื่นๆของเธอแล้วจะเข้าใจค่ะ
ขนาดเราเล่นล้อเลียนกันว่าหมาดำบ้าง
ว่าฟันยื่นบ้าง หรืออะไรขำๆ
อิ่มก้อไม่เห็นเคยโกรธหรือหงุดหงิดเลย ใจเธอใสมาก"
ที่เป็นเช่นนี้ได้ก็เพราะหนูอิ่มไม่เคยสงสัย
ในความรักที่แม่มีต่อเธอ เป็นรักแท้ที่ไม่มีเงื่อนไข
หนูอิ่มจึงไร้ความกังวลต่อคำพูดใดๆ
ภาพที่เห็นตรงหน้าจึงเป็นความรักที่บริสุทธิ์ เป็นรอยยิ้มที่จริงใจ
และเป็นความทรงจำดีๆ ที่ทั้งคู่มอบให้แก่กัน
“แม่รักลูกสุดหัวใจ”
คือถ้อยคำที่เธอบอกลูกเสมอ ไม่ว่าวันนี้หรือวันไหน
หากวันใดที่เธอไม่อยู่เธอมั่นใจว่าหนูอิ่มจะรักตัวเองมากพอ
ที่จะนำพาชีวิตของตนไปในทางที่ถูกที่ควร
เกื้อกูลตนเอง และผู้อื่นบนโลกใบนี้
เม้ง-ครอบครัว
ความเป็นพ่อที่ส่งต่อถึงลูก
มรดก "ความรัก" ของป๊าส่งต่อลูกหลานให้คิดถึง
เม้ง หรือ ประสิทธิ์ วิทยสัมฤทธิ์
ครีเอทีฟหนุ่มใหญ่ไฟแรง
หุ้นส่วนและผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท ชูใจ กะ กัลยาณมิตร
มาถึงสตูดิโอพร้อมกับภรรยาและลูกสาววัย 4 ขวบเศษ
ซึ่งเป็นการพบเจอทั้งครอบครัวครั้งแรก
เด็กหญิงดูตื่นเต้นและกังวลเล็กน้อย
เมื่อพบเจอคนแปลกหน้า
ตัวติดหนึบกับคุณแม่ประหนึ่งเป็นที่คุ้มภัย
เราไม่รีบร้อนเพราะรู้ว่าความไว้วางใจ
และพื้นที่ปลอดภัยเป็นสิ่งจำเป็นในช่วงเวลานี้
ทีมเราตั้งใจจะถ่าย Last Memory ของเม้งกับป๊า
มาตั้งแต่ปีก่อนเพราะรับรู้ถึงความรักความผูกพัน
ที่เขามีกับป๊าและครอบครัว
แม้ว่าตั้งแต่เด็กจนโตเขามักเห็นป๊า
เอาแต่ทำงานและทำมาตลอดชีวิต
แทบไม่ได้ใกล้ชิดกันเลย
“ภาพที่มันขึ้นมาตอนนี้เลยก็คือ ตอนเด็กๆ
มันมีโมเมนต์นึงที่เรานั่งอยู่ในรถแท๊กซี่
แล้วมันมีจังหวะที่ได้นอนหนุนตักป๊า
มันเป็นความรู้สึกอบอุ่นที่ยังจำได้ถึงทุกวันนี้
ซึ่งไม่ค่อยได้เกิดขึ้นบ่อยนัก” .
เมื่อลูกของป๊าทั้งสามคนตัดสินใจกลับมาทำรองเท้า
ซึ่งเป็นธุรกิจครอบครัวภายใต้แบรนด์ Youngfolks
เป็นโอกาสที่เม้ง พี่ชาย และน้องสาวได้กลับมาใช้เวลาร่วมกัน
ได้รู้จักรากเหง้าของตัวเอง
ได้รู้จักความหมายของคำว่า “ครอบครัว”
และได้รู้จักผู้ชายที่เขาเรียกว่า“ป๊า”
ผู้ชายที่ไม่พูดคำว่า “รัก” แต่ภาษารักของป๊าอยู่ในทุกคนที่ป๊ารัก
และสิ่งที่ป๊าเลือกทำเพื่อครอบครัว
เม้งพยายามทำหลายอย่างเพื่อให้ครอบครัวได้ใกล้ชิดกัน
เชื่อมโยงกัน และพูดคุยกันถึงสิ่งที่อยู่ลึกๆ ในใจมาตลอด
ทำได้บ้างไม่ได้บ้าง แต่ก็ถือว่าเป็นความพยายามที่น่าชมเชย
ซึ่งทำให้ภาพความทรงจำระหว่างเขากับป๊า แม่
และครอบครัวมีความหมายมากขึ้น
น่าเสียดายที่ป๊าจากไปเมื่อวันที่ 5 ธค. ที่ผ่านมา
ทำให้เราไม่ได้ถ่ายภาพป๊ากับลูกชาย
แต่นั่นไม่สำคัญเลยเพราะเราสัมผัสได้ว่าในวันที่ป๊าไม่อยู่แล้ว
ภาพความทรงจำเกี่ยวกับป๊ากลับกระจ่างชัด
ความรักของป๊า ความเอางานเอาการ ความรับผิดชอบ
และตัวตนของป๊าได้ถ่ายทอดและซึมลึกอยู่ในจิตวิญญาณ
ของลูกที่กำลังทำหน้าที่พ่อให้กับอีกชีวิตหนึ่งที่กำลังเติบโต
"ด.ญ.สติมา" ชื่อที่เขาตั้งใจเรียกเพื่อเตือนตน
“บางอย่างที่เราเคยไม่ชอบตอนเด็กๆ แต่เราก็เป็นซะเอง
เช่น บ้างาน หมกหมุ่นกับไอเดียอะไรบางอย่าง
จนบางทีก็ละเลยความรู้สึกของลูก”
เม้งวิจารณ์ตัวเองขณะมองลูกที่กำลังหยอกล้อกับแม่
“ก็พยายามจัดสรรเวลาให้ลูก ให้ครอบครัว ซึ่งก็ยังทำได้ไม่ดีนัก”
หากนี่คือภาพสุดท้ายในชีวิตอยากบอกอะไรกับลูกและภรรยา
“ผมรู้ว่าพวกเขาอยู่ได้แน่นอน
เพราะผมไม่ค่อยมีประโยชน์มากนัก
เมื่อเทียบกับกุ๊ก (ภรรยา) ซึ่งเป็นทุกอย่างให้ลูก
ความจริงก็อยากขอบคุณภรรยาที่เขาอดทน
อยู่เคียงข้างผม ดูแลผมมาตลอด
แม้ผมจะไม่ค่อยได้ดูแลเอาใจใส่เขามากนัก
และก็อยากขอโทษที่ไม่ค่อยมีเวลาให้”
เม้งหันไปสบตาภรรยาที่นั่งอยู่ข้างหน้า
ในขณะที่กุ๊กน้ำตาคลอเมื่อได้ยินความในใจของสามี
สายตาที่เม้งมองไปที่ภรรยาและลูก
เรารับรู้ได้ถึงความรัก
ความห่วงใย และความปรารถนา
ที่อยากให้คนที่รักมีความสุข
ขณะเดียวกันก็มีความรู้สึกผิดอยู่ลึกๆ
ที่ยังทำหน้าที่ได้ไม่ดีนัก
ชั่วขณะนั้นเรามองเห็นชายสองคน “เม้ง”และ “ป๊า”
เป็นภาพที่ซ้อนทับกันอยู่ ต่างกันเพียงห้วงเวลา
เรามั่นใจว่าเขาพยายามทำดีที่สุดในฐานะพ่อและสามี
สิ่งที่อยากฝากไว้ให้ลูกก็มีอยู่ในตัวลูกอยู่แล้ว
เฉกเช่นเดียวกับป๊าที่ทิ้งมรดก
ของความรักไว้ให้ลูกหลานได้ระลึกถึง
มรดก "ความรัก" ของป๊าส่งต่อลูกหลานให้คิดถึง
เม้ง หรือ ประสิทธิ์ วิทยสัมฤทธิ์
ครีเอทีฟหนุ่มใหญ่ไฟแรง
หุ้นส่วนและผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท ชูใจ กะ กัลยาณมิตร
มาถึงสตูดิโอพร้อมกับภรรยาและลูกสาววัย 4 ขวบเศษ
ซึ่งเป็นการพบเจอทั้งครอบครัวครั้งแรก
เด็กหญิงดูตื่นเต้นและกังวลเล็กน้อย
เมื่อพบเจอคนแปลกหน้า
ตัวติดหนึบกับคุณแม่ประหนึ่งเป็นที่คุ้มภัย
เราไม่รีบร้อนเพราะรู้ว่าความไว้วางใจ
และพื้นที่ปลอดภัยเป็นสิ่งจำเป็นในช่วงเวลานี้
ทีมเราตั้งใจจะถ่าย Last Memory ของเม้งกับป๊า
มาตั้งแต่ปีก่อนเพราะรับรู้ถึงความรักความผูกพัน
ที่เขามีกับป๊าและครอบครัว
แม้ว่าตั้งแต่เด็กจนโตเขามักเห็นป๊า
เอาแต่ทำงานและทำมาตลอดชีวิต
แทบไม่ได้ใกล้ชิดกันเลย
“ภาพที่มันขึ้นมาตอนนี้เลยก็คือ ตอนเด็กๆ
มันมีโมเมนต์นึงที่เรานั่งอยู่ในรถแท๊กซี่
แล้วมันมีจังหวะที่ได้นอนหนุนตักป๊า
มันเป็นความรู้สึกอบอุ่นที่ยังจำได้ถึงทุกวันนี้
ซึ่งไม่ค่อยได้เกิดขึ้นบ่อยนัก” .
เมื่อลูกของป๊าทั้งสามคนตัดสินใจกลับมาทำรองเท้า
ซึ่งเป็นธุรกิจครอบครัวภายใต้แบรนด์ Youngfolks
เป็นโอกาสที่เม้ง พี่ชาย และน้องสาวได้กลับมาใช้เวลาร่วมกัน
ได้รู้จักรากเหง้าของตัวเอง
ได้รู้จักความหมายของคำว่า “ครอบครัว”
และได้รู้จักผู้ชายที่เขาเรียกว่า“ป๊า”
ผู้ชายที่ไม่พูดคำว่า “รัก” แต่ภาษารักของป๊าอยู่ในทุกคนที่ป๊ารัก
และสิ่งที่ป๊าเลือกทำเพื่อครอบครัว
เม้งพยายามทำหลายอย่างเพื่อให้ครอบครัวได้ใกล้ชิดกัน
เชื่อมโยงกัน และพูดคุยกันถึงสิ่งที่อยู่ลึกๆ ในใจมาตลอด
ทำได้บ้างไม่ได้บ้าง แต่ก็ถือว่าเป็นความพยายามที่น่าชมเชย
ซึ่งทำให้ภาพความทรงจำระหว่างเขากับป๊า แม่
และครอบครัวมีความหมายมากขึ้น
น่าเสียดายที่ป๊าจากไปเมื่อวันที่ 5 ธค. ที่ผ่านมา
ทำให้เราไม่ได้ถ่ายภาพป๊ากับลูกชาย
แต่นั่นไม่สำคัญเลยเพราะเราสัมผัสได้ว่าในวันที่ป๊าไม่อยู่แล้ว
ภาพความทรงจำเกี่ยวกับป๊ากลับกระจ่างชัด
ความรักของป๊า ความเอางานเอาการ ความรับผิดชอบ
และตัวตนของป๊าได้ถ่ายทอดและซึมลึกอยู่ในจิตวิญญาณ
ของลูกที่กำลังทำหน้าที่พ่อให้กับอีกชีวิตหนึ่งที่กำลังเติบโต
"ด.ญ.สติมา" ชื่อที่เขาตั้งใจเรียกเพื่อเตือนตน
“บางอย่างที่เราเคยไม่ชอบตอนเด็กๆ แต่เราก็เป็นซะเอง
เช่น บ้างาน หมกหมุ่นกับไอเดียอะไรบางอย่าง
จนบางทีก็ละเลยความรู้สึกของลูก”
เม้งวิจารณ์ตัวเองขณะมองลูกที่กำลังหยอกล้อกับแม่
“ก็พยายามจัดสรรเวลาให้ลูก ให้ครอบครัว ซึ่งก็ยังทำได้ไม่ดีนัก”
หากนี่คือภาพสุดท้ายในชีวิตอยากบอกอะไรกับลูกและภรรยา
“ผมรู้ว่าพวกเขาอยู่ได้แน่นอน
เพราะผมไม่ค่อยมีประโยชน์มากนัก
เมื่อเทียบกับกุ๊ก (ภรรยา) ซึ่งเป็นทุกอย่างให้ลูก
ความจริงก็อยากขอบคุณภรรยาที่เขาอดทน
อยู่เคียงข้างผม ดูแลผมมาตลอด
แม้ผมจะไม่ค่อยได้ดูแลเอาใจใส่เขามากนัก
และก็อยากขอโทษที่ไม่ค่อยมีเวลาให้”
เม้งหันไปสบตาภรรยาที่นั่งอยู่ข้างหน้า
ในขณะที่กุ๊กน้ำตาคลอเมื่อได้ยินความในใจของสามี
สายตาที่เม้งมองไปที่ภรรยาและลูก
เรารับรู้ได้ถึงความรัก
ความห่วงใย และความปรารถนา
ที่อยากให้คนที่รักมีความสุข
ขณะเดียวกันก็มีความรู้สึกผิดอยู่ลึกๆ
ที่ยังทำหน้าที่ได้ไม่ดีนัก
ชั่วขณะนั้นเรามองเห็นชายสองคน “เม้ง”และ “ป๊า”
เป็นภาพที่ซ้อนทับกันอยู่ ต่างกันเพียงห้วงเวลา
เรามั่นใจว่าเขาพยายามทำดีที่สุดในฐานะพ่อและสามี
สิ่งที่อยากฝากไว้ให้ลูกก็มีอยู่ในตัวลูกอยู่แล้ว
เฉกเช่นเดียวกับป๊าที่ทิ้งมรดก
ของความรักไว้ให้ลูกหลานได้ระลึกถึง
หมอนก-แม่
วงล้อมแห่งการดูแลที่ถูกเตรียมไว้ด้วยความรักและความกรุณา
หมอนก หรือ พญ.กนกวรรณ ศรีรักษา
กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคระบบทางเดินหายใจ
รพศ.ขอนแก่น อดีตประธานองค์กรแพทย์
และครูแพทย์ที่มีจิตวิญญาณความเป็นครู
รักความเป็นธรรม
และพร้อมจะยืดหยัดเพื่อความถูกต้อง
หมอ_นก คือหนึ่งในหัวขบวนที่ขับเคลื่อนเพื่อ
สร้างธรรมาภิบาลให้กับวงการสาธารณสุข
ซึ่งสะท้อนบทบาทที่หลากหลายของผู้หญิงคนนี้
นอกเวลาทำงานหมอ_นก เป็นนักอ่านตัวยง
ชอบดูหนังสารคดี รักการวิ่ง
และหลงใหลการท่องเที่ยวธรรมชาติ
ทำให้เธอแวดล้อมไปด้วยกัลยาณมิตร
ทั้งนอกและในโรงพยาบาล
วันนี้เธอมาในฐานะลูกสาวที่ทำหน้าพาแม่
มาหาหมอเพื่อติดตามอาการ
คุณแม่นั่งอยู่ในรถเข็น มีผู้ดูแลช่วยเข็นมาที่ลานกิจกรรม
คุณแม่ส่งยิ้มมาแต่ไกล เป็นยิ้มที่พร้อมจะเปิดรับ
กับทุกความเป็นไปได้ที่จะเกิดขึ้น
ช่างภาพเอ่ยทักทายคุณแม่และกดชัตเตอร์โดยไม่ลังเล
ใบหน้าที่เป็นธรรมชาติ
รอยยิ้มที่จริงใจ ทำให้ภาพออกมาสวยโดยไม่ต้องพยายาม
หมอนก ตามมาถึงพอดีจึงขอถ่ายรูปกับคุณแม่
เราเห็นลูกสาวที่ขัดเขินเล็กน้อยเมื่อต้องอยู่หน้าเฟรม
แต่สำหรับคุณแม่กลับไม่เห็นความกังวลใดๆ
ดวงตาวิบวับเป็นประกายเมื่ออยู่ท่านกลางคนที่ท่านรัก
ยิ่งเมื่อคุณพ่อของหมอนกตามมาร่วมถ่ายภาพด้วย
บรรยากาศดูอบอุ่นขึ้นมาทันที
ถามหมอนก ว่าเคยถ่ายภาพด้วยกันมาก่อนมั้ย
หมอนก บอกว่า
“เคยนะ แต่ครั้งนี้ค่อนข้างพิเศษเพราะเป็นภาพขาวดำ
และเป็นการถ่ายเชิงศิลปะ เชื่อว่ารูปต้องออกมาสวยแน่ๆ”
เธอจึงไม่พลาดที่จะพาคุณพ่อคุณแม่มา
ช่างภาพชวนผู้ดูแลเข้าร่วมถ่ายภาพเป็นที่ระลึกด้วย
ทำให้ภาพสุดท้ายของหมอ นก กับครอบครัวเป็นภาพที่มั่นใจได้ว่า
คุณแม่จะได้รับการดูแลอย่างดีจากคนที่อยู่รอบข้าง
ท่ามกลางกัลยาณมิตรในโรงพยาบาลที่พร้อมจะ
สนับสนุนหมอ นก และครอบครัว
เป็นวงล้อมแห่งการดูแลที่ถูกเตรียมไว้ด้วยความรักและความกรุณา
หมอนก หรือ พญ.กนกวรรณ ศรีรักษา
กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคระบบทางเดินหายใจ
รพศ.ขอนแก่น อดีตประธานองค์กรแพทย์
และครูแพทย์ที่มีจิตวิญญาณความเป็นครู
รักความเป็นธรรม
และพร้อมจะยืดหยัดเพื่อความถูกต้อง
หมอ_นก คือหนึ่งในหัวขบวนที่ขับเคลื่อนเพื่อ
สร้างธรรมาภิบาลให้กับวงการสาธารณสุข
ซึ่งสะท้อนบทบาทที่หลากหลายของผู้หญิงคนนี้
นอกเวลาทำงานหมอ_นก เป็นนักอ่านตัวยง
ชอบดูหนังสารคดี รักการวิ่ง
และหลงใหลการท่องเที่ยวธรรมชาติ
ทำให้เธอแวดล้อมไปด้วยกัลยาณมิตร
ทั้งนอกและในโรงพยาบาล
วันนี้เธอมาในฐานะลูกสาวที่ทำหน้าพาแม่
มาหาหมอเพื่อติดตามอาการ
คุณแม่นั่งอยู่ในรถเข็น มีผู้ดูแลช่วยเข็นมาที่ลานกิจกรรม
คุณแม่ส่งยิ้มมาแต่ไกล เป็นยิ้มที่พร้อมจะเปิดรับ
กับทุกความเป็นไปได้ที่จะเกิดขึ้น
ช่างภาพเอ่ยทักทายคุณแม่และกดชัตเตอร์โดยไม่ลังเล
ใบหน้าที่เป็นธรรมชาติ
รอยยิ้มที่จริงใจ ทำให้ภาพออกมาสวยโดยไม่ต้องพยายาม
หมอนก ตามมาถึงพอดีจึงขอถ่ายรูปกับคุณแม่
เราเห็นลูกสาวที่ขัดเขินเล็กน้อยเมื่อต้องอยู่หน้าเฟรม
แต่สำหรับคุณแม่กลับไม่เห็นความกังวลใดๆ
ดวงตาวิบวับเป็นประกายเมื่ออยู่ท่านกลางคนที่ท่านรัก
ยิ่งเมื่อคุณพ่อของหมอนกตามมาร่วมถ่ายภาพด้วย
บรรยากาศดูอบอุ่นขึ้นมาทันที
ถามหมอนก ว่าเคยถ่ายภาพด้วยกันมาก่อนมั้ย
หมอนก บอกว่า
“เคยนะ แต่ครั้งนี้ค่อนข้างพิเศษเพราะเป็นภาพขาวดำ
และเป็นการถ่ายเชิงศิลปะ เชื่อว่ารูปต้องออกมาสวยแน่ๆ”
เธอจึงไม่พลาดที่จะพาคุณพ่อคุณแม่มา
ช่างภาพชวนผู้ดูแลเข้าร่วมถ่ายภาพเป็นที่ระลึกด้วย
ทำให้ภาพสุดท้ายของหมอ นก กับครอบครัวเป็นภาพที่มั่นใจได้ว่า
คุณแม่จะได้รับการดูแลอย่างดีจากคนที่อยู่รอบข้าง
ท่ามกลางกัลยาณมิตรในโรงพยาบาลที่พร้อมจะ
สนับสนุนหมอ นก และครอบครัว
เป็นวงล้อมแห่งการดูแลที่ถูกเตรียมไว้ด้วยความรักและความกรุณา
ครูสุภา-อ.เกียรติศักดิ์
คู่ชีวิตหัวใจศิลปิน
อดีตข้าราชการครูวัยหลังเกษียณ
ที่มีจิตวิญญาณความเป็นครูเต็มเปี่ยม
เมื่อครั้งที่เธอเป็นครูและทำหน้าที่
นำพาการเรียนรู้ให้กับลูกศิษย์
ครูสุภาเป็นต้นแบบของครู
ที่เข้าถึงหัวใจของการเรียนรู้
เธอสอนให้ลูกศิษย์ติดดิน เคารพธรรมชาติ
และตระหนักถึงคุณค่าของภูมิปัญญาท้องถื่น
แม้ครูสุภาจะเป็นครูสอนภาษาอังกฤษ
แต่สำหรับเธอแล้วการเรียนการสอนที่แท้จริง
คือการช่วยให้เด็กค้นพบศักยภาพในตนเอง
และสามารถเชื่อมโยงความรู้กับชีวิตจริง
บ่อยครั้งที่ห้องเรียนของเด็กๆ
คือธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรอบตัว
คือผู้คนที่อยู่ในวิถีชีวิต
ไม่ว่าจะเป็นปราชญ์ชาวบ้าน
ศิลปินท้องถิ่น ชาวนา พ่อแก่ แม่เฒ่า
หรือนักต่อสู้เพื่อคนจน
เธอไม่เพียงสอนความรู้
เพื่อประกอบอาชีพเท่านั้น
แต่ยังสอนวิชาชีวิตให้กับเด็กๆ
ได้เติบโตอย่างมีคุณภาพด้วย
ในความทรงจำของลูกศิษย์หลายคน
จึงมีครูสุภาเป็นแรงบันดาลใจสำคัญในชีวิต
ไม่น่าแปลกใจเลยที่วันนี้ครูสุภาในวัยใกล้ 70 ปี
ยังคงสุขภาพดี ร่าเริง อารมณ์ดี
ใช้ชีวิตสอดคล้องกลมกลืนกับธรรมชาติ
บริโภคแต่พอดี และใส่ใจสิ่งแวดล้อม
ครูสุภามักปรากฎตัวด้วยใบหน้าเปื้อนยิ้ม
ผมบ๊อบสีขาวโพลนทั้งศีรษะ
ด้วยรสนิยมการแต่งกายที่ไม่มากไม่น้อยเกินไป
มีหมวกและผ้าพันคอเป็นเอกลักษณ์ ทำให้เธอ
เด่นโดยไม่ต้องปรุงแต่ง
เธอมีคู่ชีวิตเป็นศิลปินรุ่นใหญ่
ท่วงทำนองสุขุม ลุ่มลึก ถ่อมตน และใจดี
ทั้งคู่เป็นแบบอย่างของคู่ชีวิตที่เป็นมิตรแท้
ใส่ใจดูแล และเกื้อกูลกันทั้งทางโลกและทางธรรม
ทั้งคู่มาขอถ่าย Last Photo
เพราะไม่ประมาทกับชีวิต
เธอและสามีเขียนสมุดเบาใจ
และเตรียมตัวตายอยู่เสมอ
เราจึงได้ภาพสวยๆ
ทั้งภาพเดี่ยวและภาพคู่ที่แอบหวาน
จนกองเชียร์ส่งเสียงแซวเป็นระยะ
แต่กระนั้นครูสุภายังกระซิบขอช่างภาพ
ด้วยความเกรงใจว่า
“พี่ขอไปเปลี่ยนเสื้อและถ่ายอีกเซ็ทนึงได้มั้ย”
เธอคว้าเสื้อยืดลายทางมาถือไว้ในมือ
ซึ่งเป็นสไตล์ที่ไม่ค่อยได้เห็นเธอสวมใส่บ่อยนัก
“ลูกสาวซื้อให้จากไต้หวัน
อยากให้ลูกสาวเห็นแม่ใส่เสื้อที่เค้าซื้อให้”
คำอธิบายสั้นๆ แต่สัมผัสได้ถึงความรัก
ความอ่อนโยนที่แม่มีต่อลูก
เราจึงเต็มใจถ่ายภาพให้เป็นกรณีพิเศษ
เพราะเรารู้ว่าเสื้อตัวนี้มีความหมาย
ต่อลูกและหัวใจแม่อย่างไร
ภาพหนึ่งภาพแทนคำพูดมากมาย
และแทนความรักเหลือคณานับ
ภาพสุดท้ายของครูสุภาและคู่ชีวิตอาจไม่สำคัญ
เท่ากับช่วงเวลาที่ทั้งคู่มีให้กัน
การดูแลกันในวันที่ยังพูดและจดจำกันได้
การมอบอิสรภาพให้ลูกมีชีวิตในแบบที่ตนปรารถนา
วางความคาดหวังบางอย่างลง
เพียงระลึกถึงความรักที่มีให้กันเสมอมาก็พอแล้ว
อดีตข้าราชการครูวัยหลังเกษียณ
ที่มีจิตวิญญาณความเป็นครูเต็มเปี่ยม
เมื่อครั้งที่เธอเป็นครูและทำหน้าที่
นำพาการเรียนรู้ให้กับลูกศิษย์
ครูสุภาเป็นต้นแบบของครู
ที่เข้าถึงหัวใจของการเรียนรู้
เธอสอนให้ลูกศิษย์ติดดิน เคารพธรรมชาติ
และตระหนักถึงคุณค่าของภูมิปัญญาท้องถื่น
แม้ครูสุภาจะเป็นครูสอนภาษาอังกฤษ
แต่สำหรับเธอแล้วการเรียนการสอนที่แท้จริง
คือการช่วยให้เด็กค้นพบศักยภาพในตนเอง
และสามารถเชื่อมโยงความรู้กับชีวิตจริง
บ่อยครั้งที่ห้องเรียนของเด็กๆ
คือธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรอบตัว
คือผู้คนที่อยู่ในวิถีชีวิต
ไม่ว่าจะเป็นปราชญ์ชาวบ้าน
ศิลปินท้องถิ่น ชาวนา พ่อแก่ แม่เฒ่า
หรือนักต่อสู้เพื่อคนจน
เธอไม่เพียงสอนความรู้
เพื่อประกอบอาชีพเท่านั้น
แต่ยังสอนวิชาชีวิตให้กับเด็กๆ
ได้เติบโตอย่างมีคุณภาพด้วย
ในความทรงจำของลูกศิษย์หลายคน
จึงมีครูสุภาเป็นแรงบันดาลใจสำคัญในชีวิต
ไม่น่าแปลกใจเลยที่วันนี้ครูสุภาในวัยใกล้ 70 ปี
ยังคงสุขภาพดี ร่าเริง อารมณ์ดี
ใช้ชีวิตสอดคล้องกลมกลืนกับธรรมชาติ
บริโภคแต่พอดี และใส่ใจสิ่งแวดล้อม
ครูสุภามักปรากฎตัวด้วยใบหน้าเปื้อนยิ้ม
ผมบ๊อบสีขาวโพลนทั้งศีรษะ
ด้วยรสนิยมการแต่งกายที่ไม่มากไม่น้อยเกินไป
มีหมวกและผ้าพันคอเป็นเอกลักษณ์ ทำให้เธอ
เด่นโดยไม่ต้องปรุงแต่ง
เธอมีคู่ชีวิตเป็นศิลปินรุ่นใหญ่
ท่วงทำนองสุขุม ลุ่มลึก ถ่อมตน และใจดี
ทั้งคู่เป็นแบบอย่างของคู่ชีวิตที่เป็นมิตรแท้
ใส่ใจดูแล และเกื้อกูลกันทั้งทางโลกและทางธรรม
ทั้งคู่มาขอถ่าย Last Photo
เพราะไม่ประมาทกับชีวิต
เธอและสามีเขียนสมุดเบาใจ
และเตรียมตัวตายอยู่เสมอ
เราจึงได้ภาพสวยๆ
ทั้งภาพเดี่ยวและภาพคู่ที่แอบหวาน
จนกองเชียร์ส่งเสียงแซวเป็นระยะ
แต่กระนั้นครูสุภายังกระซิบขอช่างภาพ
ด้วยความเกรงใจว่า
“พี่ขอไปเปลี่ยนเสื้อและถ่ายอีกเซ็ทนึงได้มั้ย”
เธอคว้าเสื้อยืดลายทางมาถือไว้ในมือ
ซึ่งเป็นสไตล์ที่ไม่ค่อยได้เห็นเธอสวมใส่บ่อยนัก
“ลูกสาวซื้อให้จากไต้หวัน
อยากให้ลูกสาวเห็นแม่ใส่เสื้อที่เค้าซื้อให้”
คำอธิบายสั้นๆ แต่สัมผัสได้ถึงความรัก
ความอ่อนโยนที่แม่มีต่อลูก
เราจึงเต็มใจถ่ายภาพให้เป็นกรณีพิเศษ
เพราะเรารู้ว่าเสื้อตัวนี้มีความหมาย
ต่อลูกและหัวใจแม่อย่างไร
ภาพหนึ่งภาพแทนคำพูดมากมาย
และแทนความรักเหลือคณานับ
ภาพสุดท้ายของครูสุภาและคู่ชีวิตอาจไม่สำคัญ
เท่ากับช่วงเวลาที่ทั้งคู่มีให้กัน
การดูแลกันในวันที่ยังพูดและจดจำกันได้
การมอบอิสรภาพให้ลูกมีชีวิตในแบบที่ตนปรารถนา
วางความคาดหวังบางอย่างลง
เพียงระลึกถึงความรักที่มีให้กันเสมอมาก็พอแล้ว
หมอพีรภัทร์
ถ้าถอดคำว่า “หมอ” ออกไปเธอก็เป็นหญิงสาวตัวเล็กๆคนหนึ่ง
ที่เหนื่อย ท้อ หมดหวังได้เหมือนคนปกติทั่วๆไป
สิ่งที่ฉันต้องการก็คือ ให้เราคอยดูเสมอ
หากเราเผลอลืมไป
แล้วดวงใจจะหาย
หมั่นคอยดูแล
และรักษาดวงใจ
เก็บเอาไว้จนวันที่ฉันเคียงคู่เธอ
ถ้าถอดเอาภาระหน้าที่ความเป็นแพทย์ออกไป
เธอคือหญิงสาวตัวเล็กคนหนึ่ง ที่เหนื่อย ท้อ หมดหวังได้
เหมือนคนปกติทั่วไป
แต่ในฐานะผู้เยียวยารักษาที่ต้องอยู่
กับความทุกข์ของผู้ป่วยและญาติในทุกๆวัน
เธอคือความหวัง เธอคือที่พึ่งของพวกเขา
ที่จะช่วยปลดเปลื้องความเจ็บปวด
ความทุกข์ทรมานที่รุมเร้า ทำให้เธอไม่อาจเมินเฉย
แรงกดดัน น้ำหนักของความรับผิดชอบที่กดลงบนบ่า
ทั้งสองของหญิงสาวผู้นี้จึงมากมายนัก
วันหนึ่งเธอก็ล้มป่วย
กลายเป็นคนไข้ที่ต้องอยู่บนเตียง
“เมื่อเดือนที่แล้ว หนูไม่สบายหนักมากเลย
มันมาแบบไม่ทันตั้งตัวโดนผ่าตัดไปสองรอบที่
รพ.ขอนแก่นเราเอง ถ้าไม่ได้รับการรักษาที่ดี
ก็คงไม่มีวันที่ได้มาถ่ายภาพกับพี่”
เธอเขียนมาเล่าภายหลัง
ตอนที่เธอเดินมาขอถ่ายภาพ
ไม่มีใครรู้เลยว่าเธอเพิ่งเฉียดความเป็นความตายมาไม่นาน
รอยยิ้มและนัยน์ตาของเธอช่างสดใส ส่องสว่างจากข้างใน
เหมือนไร้ซึ่งความทุกข์ ใครเห็นก็อดยิ้มไปกับเธอไม่ได้
เธอขอให้เพื่อนมาถ่ายด้วยกัน
เพื่อนที่อยู่เคียงข้างและเป็นกำลังใจให้เธอเสมอ
“ความตายมันอยู่ใกล้เราจริงๆ ค่ะ
และชีวิตเต็มไปด้วยความไม่แน่นอน”
นั่นคือความจริงที่หมอพีรภัทร์ได้เรียนรู้
จากความเจ็บป่วยของตัวเอง”
ต่อให้วันนี้ได้ถ่ายรูป พรุ่งนี้อาจจะไม่มีแล้วก็ได้
“ขอบคุณพี่จริงๆ ที่ทำโครงการนี้ค่ะ”
เธอเอ่ยบอกอย่างจริงใจ
ไม่อาจรู้ว่าเธอผ่านช่วงเวลายากลำบากเหล่านั้นมาได้อย่างไร
รอยยิ้มของเธอบอกเราว่า หัวใจเธอต้องหนักแน่น แข็งแกร่ง
และมั่นคงมากพอที่จะยอมรับความเป็นไปของชีวิต
เรื่องราวของเธอทำให้อยากส่งกำลังใจและกระซิบ
ไปถึงบุคลากรสุขภาพที่ทำงานเพื่อผู้ป่วยว่า
“หมั่นคอยดูแลและรักษาดวงใจให้อยู่เคียงคู่กับกายอย่างปลอดภัยนะ”
ที่เหนื่อย ท้อ หมดหวังได้เหมือนคนปกติทั่วๆไป
สิ่งที่ฉันต้องการก็คือ ให้เราคอยดูเสมอ
หากเราเผลอลืมไป
แล้วดวงใจจะหาย
หมั่นคอยดูแล
และรักษาดวงใจ
เก็บเอาไว้จนวันที่ฉันเคียงคู่เธอ
ถ้าถอดเอาภาระหน้าที่ความเป็นแพทย์ออกไป
เธอคือหญิงสาวตัวเล็กคนหนึ่ง ที่เหนื่อย ท้อ หมดหวังได้
เหมือนคนปกติทั่วไป
แต่ในฐานะผู้เยียวยารักษาที่ต้องอยู่
กับความทุกข์ของผู้ป่วยและญาติในทุกๆวัน
เธอคือความหวัง เธอคือที่พึ่งของพวกเขา
ที่จะช่วยปลดเปลื้องความเจ็บปวด
ความทุกข์ทรมานที่รุมเร้า ทำให้เธอไม่อาจเมินเฉย
แรงกดดัน น้ำหนักของความรับผิดชอบที่กดลงบนบ่า
ทั้งสองของหญิงสาวผู้นี้จึงมากมายนัก
วันหนึ่งเธอก็ล้มป่วย
กลายเป็นคนไข้ที่ต้องอยู่บนเตียง
“เมื่อเดือนที่แล้ว หนูไม่สบายหนักมากเลย
มันมาแบบไม่ทันตั้งตัวโดนผ่าตัดไปสองรอบที่
รพ.ขอนแก่นเราเอง ถ้าไม่ได้รับการรักษาที่ดี
ก็คงไม่มีวันที่ได้มาถ่ายภาพกับพี่”
เธอเขียนมาเล่าภายหลัง
ตอนที่เธอเดินมาขอถ่ายภาพ
ไม่มีใครรู้เลยว่าเธอเพิ่งเฉียดความเป็นความตายมาไม่นาน
รอยยิ้มและนัยน์ตาของเธอช่างสดใส ส่องสว่างจากข้างใน
เหมือนไร้ซึ่งความทุกข์ ใครเห็นก็อดยิ้มไปกับเธอไม่ได้
เธอขอให้เพื่อนมาถ่ายด้วยกัน
เพื่อนที่อยู่เคียงข้างและเป็นกำลังใจให้เธอเสมอ
“ความตายมันอยู่ใกล้เราจริงๆ ค่ะ
และชีวิตเต็มไปด้วยความไม่แน่นอน”
นั่นคือความจริงที่หมอพีรภัทร์ได้เรียนรู้
จากความเจ็บป่วยของตัวเอง”
ต่อให้วันนี้ได้ถ่ายรูป พรุ่งนี้อาจจะไม่มีแล้วก็ได้
“ขอบคุณพี่จริงๆ ที่ทำโครงการนี้ค่ะ”
เธอเอ่ยบอกอย่างจริงใจ
ไม่อาจรู้ว่าเธอผ่านช่วงเวลายากลำบากเหล่านั้นมาได้อย่างไร
รอยยิ้มของเธอบอกเราว่า หัวใจเธอต้องหนักแน่น แข็งแกร่ง
และมั่นคงมากพอที่จะยอมรับความเป็นไปของชีวิต
เรื่องราวของเธอทำให้อยากส่งกำลังใจและกระซิบ
ไปถึงบุคลากรสุขภาพที่ทำงานเพื่อผู้ป่วยว่า
“หมั่นคอยดูแลและรักษาดวงใจให้อยู่เคียงคู่กับกายอย่างปลอดภัยนะ”
หมอแจ๊ค
คุณหมอลูกสอง กับงานที่ต้องดูแลช่วงความเปราะบางของชีวิตของผู้ป่วย
นพ.วัชรพงษ์ รินทะระ หรือ หมอแจ๊ค
หมอครอบครัวที่เชี่ยวชาญการดูแลแบบประคับประคับ
หรือ Palliative Care และเป็นผู้ร่วมก่อตั้งศูนย์พลังใจ
(หน่วยดูแลประคับประคองประจำโรงพยาบาลศูนย์ขอนแก่น)
ทีมสุขภาพที่เป็นเพื่อนคู่คิด ให้คำแนะนำปรึกษา
และช่วยจัดการอาการรบกวนในระยะท้าย
เพื่อให้เราทุกคนเข้าถึงการตายดีในแบบที่ต้องการ
แต่ในอีกบทบาทหนึ่ง เขาคือคุณพ่อลูก 2
ที่กำลังทำหน้าที่ดูแลเมล็ดพันธุ์ที่กำลังงอกงามให้เติบโต
และมีชีวิตที่ดีในเส้นทางที่เขาเลือกเดิน
งานที่เลือกทำไม่ใช่ใครๆ ก็อยากทำ
เพราะต้องอยู่กับความเปราะบางของชีวิต
โมงยามของการจากลา ความตาย
และที่สำคัญเราต่างก็ไม่มีใครหนีพ้น
หมอแจ๊คมาเยี่ยมเยียนทีมงานในขณะที่มีคนไข้ล้นมือ
“เย็นนี้ต้องไปถอดท่อคนไข้อีก 4 ราย ไม่ไหวก็ต้องไหว”
เขาบอกเล่าด้วยน้ำเสียงอ่อนล้า ใบหน้าอิดโรย
ช่างภาพขอให้เขากลับมาอีกครั้งในเช้าวันรุ่งขี้น
เพื่อจะได้สัมผัสถึงพลังชีวิตของเขา
เพราะนี่คือภาพความทรงจำสุดท้าย
ที่จะอยู่ในโมเมนต์สำคัญของชีวิต
ถึงแม้จะเหนื่อย ท้อ และยากลำบาก
แต่ก็ยังอยากทำต่อไปเพราะมันกลายเป็นคุณค่าที่หล่อเลี้ยงชีวิต
“ขอบใจนะที่ตัดสินใจมาทำงาน
Palliative Care เต็มตัว
ในวันที่บาดเจ็บ ทำงานแล้วช่วยแบ่งเบา
ความทุกข์ของผู้ป่วยและญาติ
ช่วยให้ลืมทุกข์ของตัวเราเอง
เห็นคุณค่าของการช่วยเหลือผู้คน
คุณค่าของครอบครัว คุณค่าของเวลาที่เหลือสั้นลง”
ถ้อยคำที่เขาบอกกับตัวเอง
ความทรงจำในชีวิตของแต่ละคน
ไม่ได้มีช่วงเวลาที่สวยงามเสมอไป
หลายครั้งเราก็เจ็บปวดและหมดพลัง
โชคดีว่าเรามักมีใครบางคนในชีวิตเสมอ
ที่ทำให้ลุกขึ้นมาแล้วก้าวเดินต่อไป
“อยากพ่อแม่ว่าขอบคุณ
ที่โอบอุ้มเยียวยามาตลอดชีวิต
บอกลูกสาวสองคนเสมอว่า
ชีวิตไม่แน่นอน ไม่รู้จะจากลากันเมื่อไหร่
กอดกันไว้ในวันที่ยังมีโอกาสอยู่ด้วยกัน”
หมอแจ๊คกล่าวถึงคนสำคัญในชีวิต
ด้วยความรู้สึกรักและตื้นตัน
สิ่งที่อยากมอบไว้ให้กับคนที่รักและกัลยาณมิตร
ที่มาพบกันครั้งสุดท้ายก็คือ
คาถาเวลามีความทุกข์ “พุทโธ” “ขอบคุณ” และ “ความตาย”
ท่องเอาไว้ ท่องวนไป แล้วคุณจะผ่านมันไปได้ในที่สุด
นพ.วัชรพงษ์ รินทะระ หรือ หมอแจ๊ค
หมอครอบครัวที่เชี่ยวชาญการดูแลแบบประคับประคับ
หรือ Palliative Care และเป็นผู้ร่วมก่อตั้งศูนย์พลังใจ
(หน่วยดูแลประคับประคองประจำโรงพยาบาลศูนย์ขอนแก่น)
ทีมสุขภาพที่เป็นเพื่อนคู่คิด ให้คำแนะนำปรึกษา
และช่วยจัดการอาการรบกวนในระยะท้าย
เพื่อให้เราทุกคนเข้าถึงการตายดีในแบบที่ต้องการ
แต่ในอีกบทบาทหนึ่ง เขาคือคุณพ่อลูก 2
ที่กำลังทำหน้าที่ดูแลเมล็ดพันธุ์ที่กำลังงอกงามให้เติบโต
และมีชีวิตที่ดีในเส้นทางที่เขาเลือกเดิน
งานที่เลือกทำไม่ใช่ใครๆ ก็อยากทำ
เพราะต้องอยู่กับความเปราะบางของชีวิต
โมงยามของการจากลา ความตาย
และที่สำคัญเราต่างก็ไม่มีใครหนีพ้น
หมอแจ๊คมาเยี่ยมเยียนทีมงานในขณะที่มีคนไข้ล้นมือ
“เย็นนี้ต้องไปถอดท่อคนไข้อีก 4 ราย ไม่ไหวก็ต้องไหว”
เขาบอกเล่าด้วยน้ำเสียงอ่อนล้า ใบหน้าอิดโรย
ช่างภาพขอให้เขากลับมาอีกครั้งในเช้าวันรุ่งขี้น
เพื่อจะได้สัมผัสถึงพลังชีวิตของเขา
เพราะนี่คือภาพความทรงจำสุดท้าย
ที่จะอยู่ในโมเมนต์สำคัญของชีวิต
ถึงแม้จะเหนื่อย ท้อ และยากลำบาก
แต่ก็ยังอยากทำต่อไปเพราะมันกลายเป็นคุณค่าที่หล่อเลี้ยงชีวิต
“ขอบใจนะที่ตัดสินใจมาทำงาน
Palliative Care เต็มตัว
ในวันที่บาดเจ็บ ทำงานแล้วช่วยแบ่งเบา
ความทุกข์ของผู้ป่วยและญาติ
ช่วยให้ลืมทุกข์ของตัวเราเอง
เห็นคุณค่าของการช่วยเหลือผู้คน
คุณค่าของครอบครัว คุณค่าของเวลาที่เหลือสั้นลง”
ถ้อยคำที่เขาบอกกับตัวเอง
ความทรงจำในชีวิตของแต่ละคน
ไม่ได้มีช่วงเวลาที่สวยงามเสมอไป
หลายครั้งเราก็เจ็บปวดและหมดพลัง
โชคดีว่าเรามักมีใครบางคนในชีวิตเสมอ
ที่ทำให้ลุกขึ้นมาแล้วก้าวเดินต่อไป
“อยากพ่อแม่ว่าขอบคุณ
ที่โอบอุ้มเยียวยามาตลอดชีวิต
บอกลูกสาวสองคนเสมอว่า
ชีวิตไม่แน่นอน ไม่รู้จะจากลากันเมื่อไหร่
กอดกันไว้ในวันที่ยังมีโอกาสอยู่ด้วยกัน”
หมอแจ๊คกล่าวถึงคนสำคัญในชีวิต
ด้วยความรู้สึกรักและตื้นตัน
สิ่งที่อยากมอบไว้ให้กับคนที่รักและกัลยาณมิตร
ที่มาพบกันครั้งสุดท้ายก็คือ
คาถาเวลามีความทุกข์ “พุทโธ” “ขอบคุณ” และ “ความตาย”
ท่องเอาไว้ ท่องวนไป แล้วคุณจะผ่านมันไปได้ในที่สุด
อรุณชัย-อาสาสมัคร I see U
คนกลุ่มหนึ่งเห็นคุณค่า ที่ทำกับผู้อื่นให้มีความสุข ในระยะท้ายของชีวิต
บางคนใช้เวลาทั้งชีวิตตามมาความสุข
โดยลืมไปว่าความสุขไม่ได้อยู่ข้างนอก
แต่อยู่ในข้างตัวเรานี่เอง
การมองกลับเข้ามาข้างในตัวเอง
ทำให้คนกลุ่มหนึ่งเห็นคุณค่าของการทำเพื่อผู้อื่น
การปรากฎตัวอย่างอ่อนน้อมถ่อมตน รับฟังอย่างลึกซึ้ง
ทำให้อรุณชัย (คุณชัย) และเหล่าอาสาสมัคร I see U
มองเห็นผู้ป่วยและผู้ดูแลที่อยู่ตรงหน้าแตกต่างออกไป
เป็นการเห็นด้วยใจที่เปิดกว้าง ไม่ตัดสิน
ยิ่งมองเห็นคนตรงหน้าชัดเจนเท่าไหร่
ก็ยิ่งมองเห็นตัวเองกระจ่างขึ้นเท่านั้น
เกือบ 10 ปี ที่อรุณชัย ได้ทำงานอาสาเยี่ยมผู้ป่วย
บ่อยครั้งที่ผู้ป่วยกลับให้ประสบการณ์และบทเรียนล้ำค่า
“เคยคิดว่าเราคือผู้ให้ แต่แท้จริงแล้ว
เรากลับเป็นผู้รับสิ่งดีๆ มากมาย ซึ่งงานทั่วอาจให้ไม่ได้
เป็นความสุขที่ไม่ต้องเอาอะไรไปแลก
แค่อยู่กับเค้าตรงนั้น ไปรับรู้ว่าเขากำลังลำบากอยู่
แค่นั้นเราก็มีค่ามากสำหรับเขาแล้ว”
การเป็นสักขีพยานในความยากลำบากของผู้ป่วย
และครอบครัวที่กำลังเผชิญกับความทุกข์
ช่วยชุบชูใจให้พวกเขามองเห็นความรัก
ความใส่ใจ ความอดทน ความพยายามของกันและกัน
แม้คนที่รักต้องจากไป
แต่การสนับสนุนให้พวกเขาได้ทำหน้าที่ลูก
ได้ทำหน้าที่สามีหรือภรรยาอย่างเข้าใจและทำด้วยหัวใจ
กลายเป็นโมงยามแห่งความทรงจำที่ประทับอยู่ในใจ
และย้อนกลับมาเยียวยาหัวใจในวันที่จากพราก
เช่นเดียวกับอาสาสมัคร I see U กว่า 200 ชีวิต
ที่ค่อยๆ เติบโตจากความทรงจำที่งดงามเหล่านั้น
กลายเป็นครอบครัวใหญ่ ประกอบด้วยคนหลายวัย
ที่ตระหนักถึงคุณค่าของการฝึกฝน
ขัดเกลา บ่มเพาะ และเรียนรู้เพื่อช่วยเหลือผู้คน
ในฐานะมนุษย์ที่ร่วมเกิด แก่ เจ็บ และตาย
ช่างภาพจึงตั้งใจถ่ายภาพ Last Photo
ให้กับอรุณชัยและอาสาสมัครทุกคนเพื่อเป็นที่ระลึก
และเมื่อพวกเขาเห็นภาพทั้งหมด
ทุกคนมีรอยยิ้มและมีความสุขมาก
แถมยังร้อยเรียงภาพทั้งหมด
ประกอบเพลงส่งกลับมาให้ด้วย
ทุกริ้วรอยที่ปรากฏชัดเจน ไม่ปรุงแต่ง
เป็นความงดงามที่ธรรมชาติสรรสร้าง
มาเป็น "เรา" แต่ละคน ที่ลงตัว
ไม่มีใครเหมือน ไม่เหมือนใคร
อยู่ที่ว่าคุณมองเห็นหรือไม่
บางคนใช้เวลาทั้งชีวิตตามมาความสุข
โดยลืมไปว่าความสุขไม่ได้อยู่ข้างนอก
แต่อยู่ในข้างตัวเรานี่เอง
การมองกลับเข้ามาข้างในตัวเอง
ทำให้คนกลุ่มหนึ่งเห็นคุณค่าของการทำเพื่อผู้อื่น
การปรากฎตัวอย่างอ่อนน้อมถ่อมตน รับฟังอย่างลึกซึ้ง
ทำให้อรุณชัย (คุณชัย) และเหล่าอาสาสมัคร I see U
มองเห็นผู้ป่วยและผู้ดูแลที่อยู่ตรงหน้าแตกต่างออกไป
เป็นการเห็นด้วยใจที่เปิดกว้าง ไม่ตัดสิน
ยิ่งมองเห็นคนตรงหน้าชัดเจนเท่าไหร่
ก็ยิ่งมองเห็นตัวเองกระจ่างขึ้นเท่านั้น
เกือบ 10 ปี ที่อรุณชัย ได้ทำงานอาสาเยี่ยมผู้ป่วย
บ่อยครั้งที่ผู้ป่วยกลับให้ประสบการณ์และบทเรียนล้ำค่า
“เคยคิดว่าเราคือผู้ให้ แต่แท้จริงแล้ว
เรากลับเป็นผู้รับสิ่งดีๆ มากมาย ซึ่งงานทั่วอาจให้ไม่ได้
เป็นความสุขที่ไม่ต้องเอาอะไรไปแลก
แค่อยู่กับเค้าตรงนั้น ไปรับรู้ว่าเขากำลังลำบากอยู่
แค่นั้นเราก็มีค่ามากสำหรับเขาแล้ว”
การเป็นสักขีพยานในความยากลำบากของผู้ป่วย
และครอบครัวที่กำลังเผชิญกับความทุกข์
ช่วยชุบชูใจให้พวกเขามองเห็นความรัก
ความใส่ใจ ความอดทน ความพยายามของกันและกัน
แม้คนที่รักต้องจากไป
แต่การสนับสนุนให้พวกเขาได้ทำหน้าที่ลูก
ได้ทำหน้าที่สามีหรือภรรยาอย่างเข้าใจและทำด้วยหัวใจ
กลายเป็นโมงยามแห่งความทรงจำที่ประทับอยู่ในใจ
และย้อนกลับมาเยียวยาหัวใจในวันที่จากพราก
เช่นเดียวกับอาสาสมัคร I see U กว่า 200 ชีวิต
ที่ค่อยๆ เติบโตจากความทรงจำที่งดงามเหล่านั้น
กลายเป็นครอบครัวใหญ่ ประกอบด้วยคนหลายวัย
ที่ตระหนักถึงคุณค่าของการฝึกฝน
ขัดเกลา บ่มเพาะ และเรียนรู้เพื่อช่วยเหลือผู้คน
ในฐานะมนุษย์ที่ร่วมเกิด แก่ เจ็บ และตาย
ช่างภาพจึงตั้งใจถ่ายภาพ Last Photo
ให้กับอรุณชัยและอาสาสมัครทุกคนเพื่อเป็นที่ระลึก
และเมื่อพวกเขาเห็นภาพทั้งหมด
ทุกคนมีรอยยิ้มและมีความสุขมาก
แถมยังร้อยเรียงภาพทั้งหมด
ประกอบเพลงส่งกลับมาให้ด้วย
ทุกริ้วรอยที่ปรากฏชัดเจน ไม่ปรุงแต่ง
เป็นความงดงามที่ธรรมชาติสรรสร้าง
มาเป็น "เรา" แต่ละคน ที่ลงตัว
ไม่มีใครเหมือน ไม่เหมือนใคร
อยู่ที่ว่าคุณมองเห็นหรือไม่
สยมภูว์ เศตะพราหมณ์
“ถ้าเราจะจากไปก็จากไป อย่างมีความสุขนะ
ไม่ต้องเศร้าโศกกับการจากไปของเรา
นึกเสียว่าเราเข้าไปท่องเที่ยวในสถานที่
ที่ไม่มีสัญญาณเน็ตและติดต่อต่อกันไม่ได้แค่นั้นเอง”
(ช่างภาพและเจ้าของสตูดิโอ)
ช่างภาพที่โลดแล่นอยู่ในวงการถ่ายภาพมากว่า 30 ปี
กำลังวางแผนชีวิตช่วงท้ายให้กับตัวเอง
เขาเป็นลูกคนเล็กที่พยายามดูแลแม่อย่างดีที่สุด
ในวันสุดท้ายของแม่ เขาตัดสินใจพาไปโรงพยาบาล
เพราะเชื่อว่าหมอจะช่วยดูแลแม่ได้ดีกว่า
แต่เมื่อถึงจุดหนึ่งเพื่อนบอกเขาอย่างตรงไปตรงมาว่า
แม่เตรียมออกเดินทางแล้ว ไม่มีประโยชน์
ที่จะพาแม่ไปผ่าตัดหรือใส่ท่อช่วยหายใจอีกแล้ว
การจากไปของแม่ ทำให้สยมภูว์ได้คิดกับตัวเองว่า
วันหนึ่งก็ต้องถึงเวลาของเรา
ในความทรงจำแม่เป็นคนสนุกรับแขกทุกคน
เพื่อนลูกมาก็ช่วยดูแลเต็มที่ แม่มักไปร่วมงานบุญ งานแต่ง
แม้กระทั่งงานศพก็ไปตลอดจนกระทั่งไปไม่ไหว
พี่ชายเคยเย้าแม่ว่า
“แม่ไม่ต้องไปงานศพใครแล้วนะ ถึงคราวงานศพแม่ก็ไม่มีใครมาหรอก”
มารดาในวัยแปดสิบหันขวับมาทันที
“ก็คนที่จะมางานศพแม่ แม่ไปงานมาหมดแล้วไง”
แล้วเสียงหัวเราะดังขึ้นพร้อมกัน
สยมภูว์ ในวัย 65 ปี จึงบอกกับตัวเองเสมอว่า
ต้องเตรียมตัวไว้ตลอดเวลา เขาบอกกับเพื่อนสนิทว่า
“งานศพเรา อยากให้เป็นงานความสุขไม่ใช่เรื่องเศร้า
การจากไปก็เหมือนแค่เราไม่เจอหน้ากันก็เท่านั้นเอง”
ภาพงานศพที่เขาออกแบบไว้จึงเต็มไปด้วยความสนุก เฮฮา
“เราอยากเล่าเรื่องราวความสุขที่ผ่านมา เล่าผ่านวิดิโอที่เราจะอัดไว้
เล่าถึงวีรกรรมของคนที่มาในงานศพเรานั่นแหล่ะ เพื่อนสนิท คนคุ้นเคย
ที่คบกันมา ความสนุกเฮฮาที่บางเรื่องไม่มีใครรู้ อยากเอามาเล่าสู่กันฟัง
จัดงานศพสักเจ็ดวัน ใครอยากดูซ้ำก็มาหลายวันได้
พาลูกพาเมียมานั่งดูได้”
สยมภูว์บอกเพื่อนสนิทให้รับรู้
ในฐานะช่างภาพสยมภูว์เตรียมภาพชุดสุดท้าย
(Last Photo) ของตนเองไว้เรียบร้อย
ถ่ายภาพที่เราอยากถ่ายในลุคต่างๆ ไว้หนวด ใส่แว่น ใส่สูท
และภาพถ่ายตอนไปท่องเที่ยวกับครอบครัว
อาจใช้หลายภาพก็ได้
สิ่งที่เขาอยากบอกกับทุกคนก็คือ....
“เราจากไปอย่างมีความสุขนะ ไม่ต้องเศร้าโศกกับการจากไปของเรา
นึกเสียว่าเราเข้าไปท่องเที่ยวในสถานที่
ที่ไม่มีสัญญาณเน็ตและติดต่อต่อกันไม่ได้แค่นั้นเอง”
ไม่ต้องเศร้าโศกกับการจากไปของเรา
นึกเสียว่าเราเข้าไปท่องเที่ยวในสถานที่
ที่ไม่มีสัญญาณเน็ตและติดต่อต่อกันไม่ได้แค่นั้นเอง”
(ช่างภาพและเจ้าของสตูดิโอ)
ช่างภาพที่โลดแล่นอยู่ในวงการถ่ายภาพมากว่า 30 ปี
กำลังวางแผนชีวิตช่วงท้ายให้กับตัวเอง
เขาเป็นลูกคนเล็กที่พยายามดูแลแม่อย่างดีที่สุด
ในวันสุดท้ายของแม่ เขาตัดสินใจพาไปโรงพยาบาล
เพราะเชื่อว่าหมอจะช่วยดูแลแม่ได้ดีกว่า
แต่เมื่อถึงจุดหนึ่งเพื่อนบอกเขาอย่างตรงไปตรงมาว่า
แม่เตรียมออกเดินทางแล้ว ไม่มีประโยชน์
ที่จะพาแม่ไปผ่าตัดหรือใส่ท่อช่วยหายใจอีกแล้ว
การจากไปของแม่ ทำให้สยมภูว์ได้คิดกับตัวเองว่า
วันหนึ่งก็ต้องถึงเวลาของเรา
ในความทรงจำแม่เป็นคนสนุกรับแขกทุกคน
เพื่อนลูกมาก็ช่วยดูแลเต็มที่ แม่มักไปร่วมงานบุญ งานแต่ง
แม้กระทั่งงานศพก็ไปตลอดจนกระทั่งไปไม่ไหว
พี่ชายเคยเย้าแม่ว่า
“แม่ไม่ต้องไปงานศพใครแล้วนะ ถึงคราวงานศพแม่ก็ไม่มีใครมาหรอก”
มารดาในวัยแปดสิบหันขวับมาทันที
“ก็คนที่จะมางานศพแม่ แม่ไปงานมาหมดแล้วไง”
แล้วเสียงหัวเราะดังขึ้นพร้อมกัน
สยมภูว์ ในวัย 65 ปี จึงบอกกับตัวเองเสมอว่า
ต้องเตรียมตัวไว้ตลอดเวลา เขาบอกกับเพื่อนสนิทว่า
“งานศพเรา อยากให้เป็นงานความสุขไม่ใช่เรื่องเศร้า
การจากไปก็เหมือนแค่เราไม่เจอหน้ากันก็เท่านั้นเอง”
ภาพงานศพที่เขาออกแบบไว้จึงเต็มไปด้วยความสนุก เฮฮา
“เราอยากเล่าเรื่องราวความสุขที่ผ่านมา เล่าผ่านวิดิโอที่เราจะอัดไว้
เล่าถึงวีรกรรมของคนที่มาในงานศพเรานั่นแหล่ะ เพื่อนสนิท คนคุ้นเคย
ที่คบกันมา ความสนุกเฮฮาที่บางเรื่องไม่มีใครรู้ อยากเอามาเล่าสู่กันฟัง
จัดงานศพสักเจ็ดวัน ใครอยากดูซ้ำก็มาหลายวันได้
พาลูกพาเมียมานั่งดูได้”
สยมภูว์บอกเพื่อนสนิทให้รับรู้
ในฐานะช่างภาพสยมภูว์เตรียมภาพชุดสุดท้าย
(Last Photo) ของตนเองไว้เรียบร้อย
ถ่ายภาพที่เราอยากถ่ายในลุคต่างๆ ไว้หนวด ใส่แว่น ใส่สูท
และภาพถ่ายตอนไปท่องเที่ยวกับครอบครัว
อาจใช้หลายภาพก็ได้
สิ่งที่เขาอยากบอกกับทุกคนก็คือ....
“เราจากไปอย่างมีความสุขนะ ไม่ต้องเศร้าโศกกับการจากไปของเรา
นึกเสียว่าเราเข้าไปท่องเที่ยวในสถานที่
ที่ไม่มีสัญญาณเน็ตและติดต่อต่อกันไม่ได้แค่นั้นเอง”
ธำรงรัตน์ บุญประยูร
ช่างภาพอิสระ วัย 65 ปี
Last Photo อาจเป็นโปรเจคใหญ่สุดท้ายในชีวิตนี้ของเขา
ในปี 2535 “พี่ตุ่ย” ธำรงรัตน์ บุญประยูร
เสียคุณพ่อไปอย่างไม่มีวันหวนกลับ
โดยไม่มีโอกาสได้ร่ำลา
การจากไปของพ่อทำให้ได้เรียนรู้
สิ่งสำคัญที่กระตุกความคิด
เมื่อพบว่าไม่มีรูปพ่อที่จะใช้เป็นรูปหน้าศพ
ทั้ง ๆ ที่ตัวเขามีอาชีพเป็นช่างภาพ
ถ่ายภาพคนมาแล้วนับไม่ถ้วน
แต่กลับไม่ได้ถ่ายภาพให้คนสำคัญในชีวิต
สิ่งที่ทำได้ในตอนนั้น
คือนำรูปติดบัตรประจำตัวประชาชนของพ่อไปอัดขยาย
เพื่อนำมาใช้ในงานสำคัญครั้งสุดท้ายของพ่อ
ทั้ง ๆ ที่รู้ดีว่า นั่นไม่ใช่รูปที่ดีพอที่จะอยู่ตรงนั้น
“เป็นสิ่งที่ค้างอยู่ในใจเพราะรูปนั้นไม่มีความเป็นพ่อเลย”
สามสิบปีผ่านไป ช่างภาพในวัยหลังเกษียณตัดสินใจ
เลือกใช้ชีวิตบั้นปลายทำงานที่ให้ความสุข
มากกว่าความสำเร็จหรือจากการหาเงินจำนวนมาก
“เงิน ใครๆ ก็อยากได้นะ แต่มาทำงานแบบนี้
มันมีความสุขมากกว่า
ยิ่งพอเปลี่ยนมาถ่าย Portrait ขาวดำ
ความสุขกลับท่วมท้น”
ไม่ใช่เรื่องง่ายที่คนๆ หนึ่งจะค้นพบเส้นทางชีวิต
ที่ส่องสว่างจากข้างใน
สิบเอ็ดเดือนกับโปรเจค Last Photo
ทำให้ช่างภาพวัยหลังเกษียณ
กลับมามีชีวิตชีวา
มีพลังและมีความสุขมากมาย
“ผมถ่ายภาพให้คนที่มาร่วมกิจกรรมกว่า 400 คน
ทั้งที่กรุงเทพ ราชบุรี ขอนแก่น
ได้พูดคุยเรื่องความตายกับทุกคนผ่านการถ่ายภาพ
และภาพสุดท้ายที่แต่ละคนเลือก
เป็นช่วงเวลาที่มีความหมายมากๆเลยครับ”
พี่ตุ่ยไม่เพียงเชื้อเชิญให้คนที่มาถ่ายภาพ
ได้ทบทวนและใคร่ครวญชีวิตเท่านั้น
การถ่ายภาพยังช่วยย้ำเตือนให้ช่างภาพและศิลปิน
ผู้นี้ได้ตระหนักถึงความไม่แน่นอนของชีวิต
ได้นึกย้อนไปในความทรงจำที่ผ่านมา
ได้ปลดเปลื้องสิ่งที่ค้างคาใจในอดีต
ตัดสินใจได้ว่าจะใช้ชีวิตที่เหลืออย่างไร
และ ” Last Photo Project “
อาจเป็นโปรเจคใหญ่สุดท้ายในชีวิตนี้ของเขา
Last Photo อาจเป็นโปรเจคใหญ่สุดท้ายในชีวิตนี้ของเขา
ในปี 2535 “พี่ตุ่ย” ธำรงรัตน์ บุญประยูร
เสียคุณพ่อไปอย่างไม่มีวันหวนกลับ
โดยไม่มีโอกาสได้ร่ำลา
การจากไปของพ่อทำให้ได้เรียนรู้
สิ่งสำคัญที่กระตุกความคิด
เมื่อพบว่าไม่มีรูปพ่อที่จะใช้เป็นรูปหน้าศพ
ทั้ง ๆ ที่ตัวเขามีอาชีพเป็นช่างภาพ
ถ่ายภาพคนมาแล้วนับไม่ถ้วน
แต่กลับไม่ได้ถ่ายภาพให้คนสำคัญในชีวิต
สิ่งที่ทำได้ในตอนนั้น
คือนำรูปติดบัตรประจำตัวประชาชนของพ่อไปอัดขยาย
เพื่อนำมาใช้ในงานสำคัญครั้งสุดท้ายของพ่อ
ทั้ง ๆ ที่รู้ดีว่า นั่นไม่ใช่รูปที่ดีพอที่จะอยู่ตรงนั้น
“เป็นสิ่งที่ค้างอยู่ในใจเพราะรูปนั้นไม่มีความเป็นพ่อเลย”
สามสิบปีผ่านไป ช่างภาพในวัยหลังเกษียณตัดสินใจ
เลือกใช้ชีวิตบั้นปลายทำงานที่ให้ความสุข
มากกว่าความสำเร็จหรือจากการหาเงินจำนวนมาก
“เงิน ใครๆ ก็อยากได้นะ แต่มาทำงานแบบนี้
มันมีความสุขมากกว่า
ยิ่งพอเปลี่ยนมาถ่าย Portrait ขาวดำ
ความสุขกลับท่วมท้น”
ไม่ใช่เรื่องง่ายที่คนๆ หนึ่งจะค้นพบเส้นทางชีวิต
ที่ส่องสว่างจากข้างใน
สิบเอ็ดเดือนกับโปรเจค Last Photo
ทำให้ช่างภาพวัยหลังเกษียณ
กลับมามีชีวิตชีวา
มีพลังและมีความสุขมากมาย
“ผมถ่ายภาพให้คนที่มาร่วมกิจกรรมกว่า 400 คน
ทั้งที่กรุงเทพ ราชบุรี ขอนแก่น
ได้พูดคุยเรื่องความตายกับทุกคนผ่านการถ่ายภาพ
และภาพสุดท้ายที่แต่ละคนเลือก
เป็นช่วงเวลาที่มีความหมายมากๆเลยครับ”
พี่ตุ่ยไม่เพียงเชื้อเชิญให้คนที่มาถ่ายภาพ
ได้ทบทวนและใคร่ครวญชีวิตเท่านั้น
การถ่ายภาพยังช่วยย้ำเตือนให้ช่างภาพและศิลปิน
ผู้นี้ได้ตระหนักถึงความไม่แน่นอนของชีวิต
ได้นึกย้อนไปในความทรงจำที่ผ่านมา
ได้ปลดเปลื้องสิ่งที่ค้างคาใจในอดีต
ตัดสินใจได้ว่าจะใช้ชีวิตที่เหลืออย่างไร
และ ” Last Photo Project “
อาจเป็นโปรเจคใหญ่สุดท้ายในชีวิตนี้ของเขา
bottom of page